เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร] [อาชีพ]

ลาบหมู

ลาบอีสาน

                                            เป็นอาหารที่ปรุงโดยใช้เนื้อสัตว์ที่  สับละเอียด ซอยหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปรุงรสด้วย น้ำปลา มะนาว
                            และ โรย ข้าวคั่ว พริกป่น ใบสะระแหน่ ต้นหอมและหอมแดง มีทั้งที่ใช้เนื้อสัตว์สุกและดิบ กินกับพืชผักพื้นบ้าน     

ส่วนผสมใช้ทำลาบหมู

– เนื้อหมู (มีมันนิดหน่อย) 3 ขีด
– ตับหมู 2 ขีด
– ไส้อ่อน 2 ขีด
– ข้าวคั่ว 1/2 ครึ่งถ้วย (โขลกพอละเอียด)
– น้ำซุป 1/2 ครึ่งถ้วย
– ใบสะระแหน่ 1 กำ
– หัวหอมแดง 6 หัว (ปอกและซอบบางๆ)
– ต้นหอม (หั่นท่อนเล็กๆ)
– ผักชี 2 ต้น
– น้ำปลา 2 ช้อน
– มะนาว 1/2 ครึ่ง
– พริกป่น (แล้วแต่ชอบ)

วิธีทำลาบหมู

  1. ล้างเนื้อหมูและเครื่องในให้สะอาดเนื้อหมูนำไปสับใส่หม้อตั้งไฟคั่วให้พอสุกยกพักไว้
  2. ตับหมูหั่นบางๆ นำไปลวกให้พอสุก ไส้อ่อนหั่นชิ้นเล็กๆ นำไปต้มให้สุกแล้วจึงนำเครื่องทั้งหมดใส่ในหม้อหมูสับ
  3. น้ำซุปตั้งไฟให้เดือดเทใส่หม้อหมูคลุกให้เข้ากันจากนั้นบีบมะนาว ใส่พริกป่น   ข้าวคั่ว และน้ำปลา ชิมรสตามชอบ
  4.  ใส่ใบสะระแหน่ หัวหอม ต้นหอม ผักชี ลงหม้อหมู จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จานรับประทานคู่กับ ผักสด    (ถั่วฝักยาว, กะหล่ำปลี ฯลฯ)

ที่มา : http://nlovecooking.com/ground-pork-slad/

กลับด้านบน

 

อาชีพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การเกษตรนับเป็นอาชีพหลักของภาค แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทางด้านสังคมเศรษฐกิจ ทำให้มีผลผลิตที่น้อยกว่าภาคอื่นๆชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนาเพราะฉะนั้นหลังฤดู
การเก็บเกี่ยวชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ ซึ่งพอจะทำ
ให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้ อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า ดังนั้นชุดฟ้อนของ
ภาคอีสานจึงมีชุดฟ้อนศิลปาชีพที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากที่สุด เช่น รำตำหูกผูกขิด เซิ้งสาวไหม ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนเข็นฝ้าย
และฟ้อนแพรวา ฟ้อนอาชีพจึงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสาน และเป็นการเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นอื่นเห็นความสำคัญ
ของหัตถกรรมพื้นบ้านอีกด้วย ฟ้อนศิลปาชีพอีสานมีหลายชุดด้วยกัน

ทำนา

ทำไร่

มันสำปะหลัง (Cassava : Manihot esculenta) พืชอาหารของไหมป่าอีรี่ กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากพืชอาหารสัตว์ กลายมาเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในการผลิต “เอทานอล” เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า “แก็สโซฮอล์” เพื่อลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ จากการนำเข้าน้ำมันซึ่งนับวันจะมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการของโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิต และจำหน่ายเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน บริษัท ผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง 1โรงงาน ที่มีกำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน ทำงาน 330 วันต่อปี ใช้หัวมันสำปะหลัง 750 – 800 ตันต่อวัน หรือประมาณ 250,000 ตัน ต่อปี ต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 100,000 ไร่ ทราบว่ากำลังมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อยอีก 18 โรงงานถ้าเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังอีก 50 % หรือ 9 โรงงาน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 900,000 ไร่ รวมเป็น 1 ล้านไร่ ในขณะที่ประเทศมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6.9 ล้านไร่ ในปี 2547 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการส่งออก ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล และอาหารสัตว์ดังกล่าว จะต้องใช้พื้นที่ ประมาณ 8 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก สำหรับจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 336,798 ไร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีใบมันสำปะหลังเป็นผลพลอยได้เพื่อใช้เลี้ยงไหมป่าจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าถ้าเราเก็บใบมันสำปะหลังน้อยกว่า 30 % ของใบทั้งหมดที่อยู่บนต้นจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หัวมันสำปะหลัง การเลี้ยงไหมป่า 20,000 ตัว (1 กล่อง) จะใช้ใบมันสำปะหลัง 600 – 700 กิโลกรัม (เก็บจากแปลงมันสำปะหลัง 2 ไร่) สามารถเลี้ยงได้ 3 ครั้ง ต่อปี ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงไหมป่าอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 2 ล้านไร่ จะเลี้ยงไหมป่าได้ถึง 1 ล้านกล่องต่อครั้ง หรือ 3 ล้านกล่องต่อปี ได้ผลผลิตรังไหมป่าประมาณ 105,000 ตัน สาวเป็นเส้นใยได้ประมาณ 7,500 ตัน มูลค่า 7,500 ล้านบาท ในจังหวัดมหาสารคาม ถ้ามีการเลี้ยงไหมอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดจะได้ผลิตเส้นไหมป่า ประมาณ 884 ตัน มีมูลค่าถึง 884 ล้านบาท
ในอนาคตจึงคิดว่า การเลี้ยงไหมป่าอีรี่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เป็นอาชีพหลัก เพราะการปลูกมันสำปะหลังเกษตรกรจะมีเวลาว่างมากพอระหว่างรอผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงไหมป่า เมื่อมีความหวังในการสร้างเงินจากเรื่องนี้ ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คงนิ่งดูดายไม่ได้ ที่จะใช้โอกาสนี้มาพัฒนาการเลี้ยงไหมป่าให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในชุมชนต่างๆ ที่อยู่ท่ามกลางไร่มันสำปะหลัง อันกว้างใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม ร่วมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวอีสานอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

ทอผ้าไหม

ที่มา : http://nanavagi.blogspot.com/2010/01/blog-post_3096.html

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-Net 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี