เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม

การแสดงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[ นาฎศิลป์ ] [ ดนตรี ] [ ศิลปะ]

 

เซิ้งกระติบ

เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดและแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่งจนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าการแสดงของภาคอีสาน
มีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว
เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ
ไม่มีท่าทางอะไรมีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ
(มีผู้นิยามว่า ฟ้อนตามแบบกรมสรรพสามิต) โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามนอกจากให้เข้าจังหวะกลอง
ตบมือไปตามฤทธิ์เหล้าในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระราชินีนาถต้องการแสดงของภาคอีสาน
เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์

รูปแบบการเเสดง

นำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย(รำเตี้ย)

การแต่งกาย

ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย
สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้ 

ทีมา : https://sawlanla.wordpress.com/วัฒนธรรมไทย/ภาคเหนือ/การแสดง

กลับด้านบน

เครื่องดนตรีไทย ภาคอีสาน

12

 พิณไหเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ที่นำภาชนะใส่ปลาร้าของชาวอีสานที่เรียกว่า ไหซอง ขนาดลดหลั่นจำนวน 3-4 ใบ มาทำเป็นกล่องเสียง โดยการเส้นยางที่นำมาจากยางในรถจักรยานผูกและขึงผ่านบริเวณปากไห ให้ได้ความตึงหย่อนตามเสียงที่ต้องการ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดเล็กใหญ่ของไหที่นำมาทำด้วย และเทียบเสียงให้ประสานกันตรงกับลายแคนที่ใช้ เช่น ลายใหญ่ ลายสุดสะแนน เป็นต้น หรืออาจจะคงที่เสียงดเสียงหนึ่งไว้โดยไม่เปลี่ยนไปตามลายของการบรรเลงก็ได้ 
เดิมทีพิณไหนั้นมีบทบาทหน้าที่ในการให้จังหวะในเสียงหลักๆของลายที่บรรเลง เช่นเดียวกับเบสของสากล แต่ภายหลังเมื่อมีการนำกีตาร์เบสเข้ามาใช้ พิณไหจึงลดบทบาทหน้าที่ในด้านเสียงลงไป หากกลับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด “นางไห” ออกมาฟ้อนรำทำท่าบรรเลงดนตรีด้วยลีลาที่อ่อนช้อย อีกกระฉับกระเฉงสนุกสนานซึ่งเป็นสีสันของวงโปงลางกระทั่งปัจจุบันนี้  

1111       

โปงลางหรือขอลอ จัดเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายระนาดส่วนประกอบที่สำคัญคือ ลูกโปงลางซึ่งเดิมมี 5-7 ลูกปัจจุบันนิยมทำเป็น 12 ลูก โปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งนิยมใช้ไม้หมากเลื่อมและไม้หมากหวด มีขนาดใหญ่โปงลางจะมีเสียง 5 เสียงเท่านั้นเพราะเพลงพื้นบ้านอีสานใช้เพียง 5 เสียง เสียงสูงต่ำตามขนาดของไม้ใช้เชือกร้อยติดกันเป็นผืนนิยมแขวนด้านเสียงต่ำไว้ด้านบนเสียงสูงทอดเอียงลงเวลาตีใช้ผู้ตี 2 คน ๆ หนึ่งตีตามทำนองส่วนอีกคนหนึ่งตีเสียงประสาทหรือเสียงเสพ      

113

แคน จัดเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดชาวอีสานมีเสียงคล้ายออร์แกน แคนมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เต้าแคน ไม้กู่แคน ลิ้นแคน ขี้สิ่วและมีดเจาะเป็นโพรง เพื่อสอดลูกแคนเรียงไว้ในเต้าแคน เจาะส่วนหน้าเป็นรูปเป่าเพื่อบังคับลมเป่าให้กระจายไปยังลิ้นแคนอย่างทั่วถึง ไม้กู่แคน ทำด้วยไม้ซางหรือไม้รวกเล็ก ๆ ที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะและลดหลั่นกัน นำมามาเจาะให้ทะลุข้อ ตัดให้ตรง ตัดให้ได้ขนาดสั้น ยาวไดสัดส่วน เจาะรูสำหรับใส่ลิ้น ลิ้นแคนทำจากโลหะทองแดง หรือทองแดงผสมเงิน นำไปหลอมและนำมาตีเป็นแผ่น ให้ได้ขนาดและความหนาบางตามต้องการ นำมาตัดให้ได้ตามขนาดต่าง ๆ แล้วนำไปสอดใส่ในกู่แคน แต่ละอันตามแผนผังเสียงของแคน 

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/473967

กลับด้านบน

ศิลปะภาคอีสาน

166

มีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล จะเห็นได้จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง
จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำฝ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ บ้านเรือนของชาวอีสาน สร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ จากการรับอิทธิพลส่งผ่านการค้าขาย สมัยนายฮ้อย จากที่ราบสูงไปยังที่ราบ
ลุ่มภาคกลาง การสร้างบ้านเรือนของชุมชนตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่มีแม่น้ำสำคัญๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง
แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่ บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน โพน หนอง นา ป่า" เป็นส่วนใหญ โดยยกพื้นสูง หลังคาทรงจั่ว เพื่อช่วยในการระบายความร้อน และน้ำฝน ในอดีตเป็นการก่อสร้างด้วยการใช้วิธีการบาก เจาะ และใส่ลิ่มไม้ในการยึดเกาะ มีเรือนนอน
ชานเรือน และครัวไฟ ใต้ถุนใช้เป็นที่ขังสัตว์ใช้งานเช่น วัว ควาย หรือ วางอุปกรณ์การเกษตร เครื่องมือทำกิน และกี่ทอผ้า

ที่มา : http://vernaculararchi.blogspot.com/2015/03/vernacular-architecture.html

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-Net 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี