การงานอาชีพและเทคโนโลยี
[อาหาร] [อาชีพ]
อาหารพื้นบ้านภาคใต้
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้า
จากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหาร
ได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู
ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ
และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี
อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น
อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู อาหารของภาคใต้
จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้
ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย
ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น
อาหารไทยภาคใต้
อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ
น้ำบูดูและชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบอาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย
ได้แก่ปลาหอยนางรมและกุ้งมังกรเป็นต้น
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อเสียง เช่น
แกงไตปลาน้ำข้น

ชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับท้องทะเล อาหารการกินส่วนใหญ่มาจากทะเล ซึ่งถ้ามีมากเกินรับประทาน
ก็จะนำอาหารที่ได้จากทะเลนั้นมาทำการถนอมอาหารไตปลาหรือพุงปลาได้จากการนำพุงปลาทูมารีดเอาไส้ในออกล้างพุงปลา
ให้สะอาดแล้วใส่เกลือหมักไว้ประมาณ1เดือนขึ้นไปหลังจากนั้นจึงจะนำมาปรุงอาหารได้
แกงไตปลามีรสจัด จึงต้องรับประทานร่วมกับผักหลาย ๆ ชนิดควบคู่กันไปด้วย เพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง
ซึ่งคนภาคใต้เรียกว่า ผักเหนาะผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง เช่น สะตอ ลูกเนียง ยอดมะม่วงหิมพานต์
ผักบางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ แตงกวา หน่อไม้
ที่มา :: http://www.healthcarethai.com/อาหารภาคใต้
กลับด้านบน
การทำสวนยางพารา

การกรีดยางด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ชาวสวนยางได้รับน้ำยางปริมาณมากในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด
คือทำให้ต้นยางที่โดนกรีดไม่บอบช้ำเสียหายต้นยางที่โดนกรีดอย่างผิดวิธีจะเกิดความเสียหายไม่สามารถกรีดซ้ำได้
หรือไม่ก็ได้น้ำยางในปริมาณที่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะกว่าจะปลูกยางพาราให้เจริญเติบโต
จนกระทั่งพร้อมจะกรีดได้ ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางทุกท่านจึงควรให้ความสำคัญ
กับวิธีการกรีดยางให้มาก
วิธีการกรีดยางที่ถูกต้อง
เป็นหัวใจสำคัญของการกรีดยางเลยทีเดียวการกรีดด้วยวิธีที่ถูกต้องจะทำให้สามารถกรีดซ้ำได้นานไม่น้อยกว่า30ปี
ลึกเข้าไปภายใต้เปลือกของต้นยางพารา ประมาณ 6-10 มิลลิเมตร ก่อนถึงเยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางเรียงอยู่จำนวนมาก
ความลึกในการกรีดที่ดีคือกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญแต่ต้องไม่ชิดติดกับเยื่อเจริญหน้าที่ของเยื่อเจริญคือเพิ่มเปลือกใหม่ให้
งอกมาแทนเปลือกเก่าที่ถูกกรีดทิ้งไปถ้าเยื่อเจริญไม่ได้รับความเสียหายเปลือกของต้นยางพาราที่งอกขึ้นใหม่จะเรียบสม่ำเสมอ
กรีดซ้ำอีกได้จะเห็นได้ว่าการกรีดต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก ต้องอาศัยการหัดกรีดเป็นเวลาหลายเดือนเลยทีเดียว
กว่าจะเกิดความชำนาญนอกจากกรีดไม่ให้ลึกเกินไปแล้ว จะต้องพยายามกรีดให้เปลือกบางที่สุด ครั้งละประมาณ 1.5 มิลลิเมตร
เดือนหนึ่งๆ กรีดเปลือกออกไม่ควรเกิน 2.5 เซนติเมตร
ที่มา ::http://www.kimhong.co.th/วีธีกรีดยาง
กลับด้านบน
|