ศิลปะ
[นาฏศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]
มโนห์รา 
.jpg)
โนรา เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้มีความยั่งยืนมานับ
เป็นเวลาหลายร้อยปีการแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดง
เรื่อง พระสุธนมโนห์ราเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์ราตามตำนาน
ของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลายตำนาน เช่น ตำนานโนรา จังหวัดตรังจังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงมีความแตกต่างทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากความคิด
ความเชื่อตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกันจึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกันจากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียด
จะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมา ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ เช่น ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี ท่ามัจฉา ท่ากวางเดินดง
ท่านกแขกเต้าเข้ารัง ท่าหงส์บิน ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด
ท่ากระต่ายชมจันทร์ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี ท่าพระลักษมณ์แผลงศรพระรามน้าวศิลป์และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร
ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ ของโนรา ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย
รูปแบบและลักษณะเด่นของการแสดง
การแสดงโนรา เริ่มต้นจากการลงโรง (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู(เชิญครู)“พิธีกาดครู”ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก
ฉะนั้นก่อนที่รำจะต้องไหว้ครู เชิญครูมาคุ้มกันรักษา หลายตอนมีการรำพัน สรรเสริญครู สรรเสริญคุณมารดา เป็นต้น
การแต่งกาย
การแต่งกายของโนรายกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมดตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือ
เป็นพิธีทางไสยศาสตรในพิธีผูกผ้าใหญ่(คือพิธีไหว้ครู)จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่นๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง
หรือ“พาไล”และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับโดยเฉพาะการสวม“เทริด”ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาว
โพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับเทริดคือเครื่องสวมหัวโนราเดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักร
แถบใต้อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราชเมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนรา
ไปสมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย
ที่มา : http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11252
กลับด้านบน

ดนตรี
ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
ชนในกลุ่มของภาคใต้ของไทย มีหลายเผ่าพันธุ์และมีหลายกลุ่ม ในอดีตมีการติดต่อค้าขาย มีความสัมพันธ์กับอินเดีย จีน ชวา - มลายู ตลอดจนติดต่อกับคนไทยในภาคกลาง ที่เดินทางไปค้าขายติดต่อกันด้วย ในชนบทความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ลักษณะของ ดนตรีพื้นบ้าน จึงเป็นลักษณะเรียบง่าย ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ จากวัสดุใกล้ตัวมีการรักษาเอกลักษณ์ และยอมให้มีการพัฒนาได้น้อยมาก ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิม น่าจะมาจากเผ่าพันธุ์ เงาะซาไก ประเภทเครื่องตี โดยใช้ไม้ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกเป็นท่อน สั้นบ้างยาวบ้าง ตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ ตรงหรือเฉียง บ้างก็หุ้มด้วยใบไม้ กาบของต้นพืช ใช้บรรเลง (ตี) ประกอบการขับร้องและเต้นรำ เครื่องดนตรี ค่อย ๆ พัฒนามาเป็นแตร กรับ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีมาแต่เดิมทั้งสิ้น
ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp8/thai/link2_2south.htm
เครื่องดรตรีประเภทตี

ทับ (โทนหรือทับโนรา)เป็นคู่เสียงต่างกันเล็กน้อยใช้คนตีเพียงคนเดียวเป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุดเพราะทำหน้าที่
คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี
ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)
ที่มา : https://sites.google.com/site/musicalthaiinstrument/kheruxng-dntri-phakh-ti
เครื่องดรตรีประเภทเป่า
.jpg)
ปี่นอก มีขนาดเล็ก่ใช้ บรรเลง ใน วงปี่พาทย์ไม้แข็ง (ปัจจุบันไม่นิยมนำมาประสมวง) และวงปี่พาทย์ชาตรี
ประกอบละครชาตรี โนรา หนังตะลุง
ที่มา : http://prefermusicthailand.blogspot.com/p/blog-page_6089.html
เครื่องดรตรีประเภทสี
.jpg)
ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย เกิดเสียงจากการใช้คันชักสี ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสายไทยวงมโหรีและการบรรเลงเดี่ยวทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและดำเนินทำนองในแนวระดับเสียงสูงคู่กับซออู้ที่ดำเนินทำนอง ในระดับเสียงต่ำลักษณะของซอด้วงนั้นมีลักษณะคล้ายซอของประเทศจีนที่มีชื่อว่า “ฮู-ฉิน” ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า “ซอด้วง” ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั่นเอง
ที่มา : http://krusompop.blogspot.com/2008/07/blog-post_2996.html
กลับด้านบน
ศิลปะ

งานศิลปะของเจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะนั้นมีรากฐานอยู่ที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดปัตตานี งานของเขาได้รวมเอาเส้น
สี ลักษณะและวิถีการใช้ชีวิตของชาวมลายูบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เขาได้รับรางวัลยอดเยี่ยม
จากการประกวดงานศิลปะหลายครั้งตั้งแต่ปีพ.ศ.2548ถึงพ.ศ.2555งานที่เต็มไปด้วยสีสันมีคุณลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนซึ่งสะท้อนความรัก
และความเข้าใจในภูมิลำเนาอย่างลึกซึ้งและยังแสดงงานศิลปะร่วมกับเด็กนักเรียนและนักศึกษาที่อยู่ในชุมชนแถวนั้นโดยสอนให้รู้ถึงเป้าหมาย
และจุดประสงค์ของงานศิลปะซึ่งผลงานที่มีความหมายลึกซึ้งนี้จะพบมากในศิลปะตะวันตกปัจจุบันนี้คุณเจะอับดุลเลาะ
กำลังดูแลงานก่อสร้างหอแสดงงานศิลปะในจังหวัดปัตตาน
ที่มา : http://www.scene4.com/archivesqv6/2014/jan-2014/0114/janineyasovantthai0114.html
กลับด้านบน |