คำขวัญประจำภาคเหนือและจังหวัดในภาคเหนือ สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ

สุขศึกษาและพลศึกษา

(โรคประจำถิ่น) (การละเล่น)

                                                                                                                 โรคไข้หูดับ

                                               ไข้หูดับหรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) เชื้อนี้จะทำให้สุกรป่วยและตายได้บ่อย                                 
                             ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน ไข้หูดับในคนมีการรายงานครั้งแรกในโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.2511                   
                             หลังจากนั้นมีการรายงานประปรายทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีนมีผู้ติดเชื้อ
                             ทั้งหมดประมาณ 215 รายและเสียชีวิตถึง 38 ราย (ร้อยละ 18 ) คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 800 ราย
                             ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะประเทศไทย และประเทศเวียดนามสำหรับประเทศไทย
                             ที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2553 พบ 19 รายงานมีผู้ป่วยรวม 301 ราย

                                                                                                          เชื้อจากหมู่สู่คนได้กี่ทาง

                                             การติดเชื้อไข้หูดับเชื้อนี้ผ่านบาดแผลตามร่างกายหรือเข้าทางเยื่อบุตาผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู
                             ทำงานในโรงงานชำแหละหมูหรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยงหมายรวมถึงผู้จำหน่าย                               หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบหรือดิบๆสุกๆ เช่น ลาบหมู โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย                                                           มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู เช่น ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่านการติดเชื้อในคนเกิดได้สอง
                             วิธีที่ 1.จากการรับประทาน
                                     2.การสัมผัสเนื้อ และเลือดดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของสุกรที่ป่วย

                                                                                                        ใครคือผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

                                             ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคนและผู้สูงอายุกว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำมักพบว่ามีโรคเรื้อรัง
                             เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วยและส่วนใหญ่ป่วย
                             เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเลือดเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทาน
                             โรคของร่างกายอ่อนแอ

                                                                                                        ใครผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

                            
ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน                              ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วย และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
                             เลือดเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ

ที่มา:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/eye_ent/deafness.html#.Vr2sWtLtmk

กลับด้านบน

การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ
เตยหรือหลิ่น
                    
              คำอธิบาย: เตย                      

                             ภาค:  ภาคเหนือ
                             จังหวัด: ตาก
                             สถานที่เล่น ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
                             อุปกรณ์: ไม่มี
                             จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
                             วิธีเล่น
                             ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง)                                                           อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น                                                           ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย                              ก็จะเป็นฝ่ายชนะ

ที่มา:https://noolalida.wordpress.com/?p=19&preview=true

กลับด้านบน

โครงงานบูรณาการ O-NET สามกลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียน นวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทายาลัย ปทุมธานี