ศิลปะ
[นาฎศิลป์ ] [ดนตรี] [ศิลปะ]
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

ฟ้อนเงี้ยว
ฟ้อนเงี้ยว: เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่ประกอบด้วย ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่แต่งกายด้วย
ชุดพื้นเมืองไทยใหญ่ การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชายแต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงามจึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน หรือ
ใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆมีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
รูปแบบและลักษณะการแสดง: ฟ้อนเงี้ยวเป็นการฟ้อนระหว่างผู้แสดงฝ่ายชายและฝ่ายหญิงออกมาท่ารำประกอบบทร้องเป็นการ
รำตีบท หรือรำใช้บทและในช่วยทำนองเพลงรับผู้แสดงก็จะทำท่ารับความงดงามของการรำฟ้อนเงี้ยวจะอยู่ที่กระบวนท่ารำ
ในลักษณะต่างๆที่มีความหมาย ในการอวยชัยให้พรและกระบวนท่าในทำนองเพลงรับ อาทิ ท่าตบมือ ท่าส่ายสะโพก
ซึ่งมีความรวดเร็ว กระฉับกระเฉง ทำให้การแสดงเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน รวมทั้งมีการแปรแถวในลักษณะต่างๆ
การแต่งกาย จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง โดยใส่เสื้อ
คอกลมแขนกระบอกนุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่าหรือกางเกงขากว้างๆหรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ
มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู
การแต่งกาย: แต่งกายในชุดหญิงล้วนหรือชุดชาย-หญิง ส่วนในการแต่งกายจะมีทั้งแบบชาวเขาและแบบฟ้อนเงี้ยวที่
กรมศิลากรประดิษฐ์ขึ้นและแบบพื้นเมือง ที่น่าสังเกตอีกอย่งหนึ่งก็คือ ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ไว้ในมือทั้งสองข้าง
ที่มา https://sites.google.com/site/ajanthus/fxn-ngeiyw
 
กลับด้านบน
เครื่องดนตรีไทยทางภาคเหนือ
สะล้อ

สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด
เสียงทำด้วยกะลามะพร้าวตัดและปิดหน้าด้วยไม้บางๆมีช่องเสียงอยู่ด้านหลังคันสะล้อทำด้วย ไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ
โดยปกติจะยาวประมาณ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด
(เดิมใช้สายไหมฟั่น )สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลางและสะล้อใหญ่ ๓ สาย
ซึง

ซึงเป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีดทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งมีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า
กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะๆดีดด้วยเขาสัตว์บางๆมีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวดหรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย
ขลุ่ย

เช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
กลองสะบัดชัยโบราณ

กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษในสมัยก่อน
ใช้ตียามออกศึกสงครามเพื่อเป็นสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ
ทำนองที่ใช้ในการตีกลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร
ที่มา:https://www.gotoknow.org/posts/220952
กลับด้านบน
ศิลปะที่โดดเด่น

ศิลปะแบบล้านนาเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-21 บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงทางภาคเหนือ
โดยแต่ก่อนเรียกว่า ศิลปะเชียงแสน ซึ่งมีข้อจำกัดทั้งในด้านความหมายของพื้นที่และผลงานศิลปกรรมดังนั้นจึงเห็นสมควร
ให้ใช้คำว่า “ศิลปะล้านนา” อันหมายถึงรูปแบบศิลปะที่กระจายอยู่ในภาคเหนือตอนบนตั้งแต่จังหวัดตาก แพร่ น่าน ขึ้นไป ทั้งนี้เพื่อให้ได้ความหมายครอบคลุมศิลปกรรมทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาทั้งหมดอีกทั้งยังสามารถแยก
เรียกเป็นสกุลช่างตามรายละเอียดที่แตกต่างกันไปเช่น ศิลปะล้านนาสกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างน่านหรือสกุลช่างพะเยา และเฉพาะพระพุทธรูปเท่านั้นที่ยังคงนิยมเรียกว่า “แบบเชียงแสน”ตามเดิม

ที่มา:https://thaiart.wikispaces.com
  
กลับด้านบน
|