การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
[อาหาร] [อาชีพ]
อาหารที่นิยม
น้ำพริกอ่อง

น้ำพริกอ่องเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆกับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของ
น้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิกมีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อยมีสามรส
คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว
จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อนจึง
นำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส
ส่วนผสมของน้ำพริกอ่อง
- เนื้อหมูบด 400 กรัม
- มะเขือเทศลูกเล็ก 20 ลูก
- ผักชีและต้นหอมซอย (เพื่อโรยหน้า) อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
เครื่องแกงน้ำพริกอ่อง
- พริกขี้หนูแห้ง 20 เม็ด
- หอมแดง 5 หัว
- กระเทียมไทย (กลีบเล็ก หรือกลีบใหญ่ก็ได้) 10 กลีบ
- กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ ½ ช้อนชา
ขั้นตอนการทำน้ำพริกอ่อง

1. โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด

2. ใส่กะปิและเกลือ โขลกให้เข้ากัน

3. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูบด ลงผัดให้สุก เติมน้ำเล็กน้อย

4. พอเดือด ใส่มะเขือเทศ ลงผัดให้เข้ากัน ตั้งไฟต่อจนมะเขือเทศสุก ปิดไฟ
ที่มา : http://xn--12cm6cuaz5da9au6re2c.blogspot.com/
กลับด้านบน

อาชีพที่นิยม
นักแกะสลักไม้

ชาวล้านนาในสมัยก่อนมีความสามารถ และมีฝีมือในการแกะสลักไม้ที่อ่อนช้อย งดงาม จะเห็นได้
จากการมีผลงานการแกะสลักไม้ประดับอาคารในพุทธสถานที่นำไว้ใช้ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา
ต่างๆและในอดีตดินแดนบริเวณภาคเหนือนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งไม้สักจำนวนมากไม้สักถูก
นำมาแปรรูปนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย
ในปัจจุบันนักแกะสลักไม้ยังคงเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงของภาคเหนือ ยุคสมัยที่
เปลี่ยนไปอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เติบโตขึ้น ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆเช่น
การผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับ ให้ดึงดูดวามสนใจมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยสังคมที่เปลี่ยนไปช่าง
แกะสลักไม้ที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือก็ลดน้อยลง แต่ยังคงพอมีการสืบเชื้อสายอยู่บ้างในบางพื้นที่
ตามหมู่บ้านต่างๆนั้นก็จะอุดมไปด้วยช่างแกะสลักไม้ที่มีฝีมือ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างให้ความ
สนใจกับงานประเภทนี้ มีการปรับเปลี่ยนงานที่แกะสลักบางอย่างให้ทันสมัย บางคนฝึกการแกะสลักจนมีความ
ชำนาญจนสามารถแกะสลักเป็นสิ่งใดก็ได้ตามต้องการ การแกะสลักไม้นั้นได้รับการสืบทอดจากลูกหลานและ
ชาวบ้านที่ให้ความสนใจจากเดิมที่มีน้อย ก็ได้ชยายวงกว้างในการอนุรักษ์อาชีพนี้ไว้อย่างดีเยี่ยม
ที่มา : http://www.changyimcm.com/article/
กลับด้านบน

|