สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ

 

ศิลปะศึกษา

[ดนตรี] [นาฏศิลป์] [ศิลปะ]

 

                              เครื่องดนตรีพื้นเมือง


สะล้อหรือทะล้อ 

                                             สะล้อหรือทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คันชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่ง กำเนิดเสียงทำด้วยกะลา
                                     มะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บางๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อ ทำด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆโดยปกติจะ
                                     ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยมทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็มีสายทำด้วยลวด (เดิมใช้
                                     สายไหมฟั่น) สะล้อมี 3 ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ 3 สาย 
                                                                                                                     


                                                                                                                        ปี่แน    

                                             ปี่แนเป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยใบตาลซึ่งผ่านกรรมวิธี มีรูบังคับเสียงเช่นเดียวกับปี่ในนิยมบรรเลงในวงกลอง
                                     ตึ่งนง วงพาทย์เมือง เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียกว่าแนเล็ก โดยมีรูปร่างคล้ายปี่ชวาแต่มีขนาดใหญ่กว่า 
                                     ขนาดใหญ่เรียกว่าแนหลวง มีรูปร่างคล้ายปี่มอญ      

                      


พิณเปี๊ยะ

                                             พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอากะโหลก
                                     ประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด- ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการสมัยก่อนหนุ่มชาวเหนือนิยมเล่นดีดคลอการ
                                     ขับร้อง ในขณะไปเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืนปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก

 

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/220952         

กลับด้านบน

 

                                     ชุดการแสดง



ฟ้อนเทียน

                                             เดิมคงเป็นการฟ้อนสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาแสดงในงานพิธีสำคัญในคุ้มเจ้าหลวงผู้ฟ้อนเป็น
                                     เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายใน เมื่อ พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองเหนือ
                                     เจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดสาวเหนือฟ้อนรับเสด็จและครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้นำมาสอนในวิทยาลัย
                                     นาฏศิลป์ต่อมา

                                     ลักษณะการแสดง 

                                             ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ถือเทียนจุดไฟมือละเล่มนิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของฟ้อนเทียนอยู่
                                     ที่แสงเทียน เต้นระยิบระยับขณะที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือ และลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆเห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง 
                                     มีการแปรขบวนควงคู่สลับแถว เข้าวง ต่อมือ ฯลฯ งดงามมาก

                                     การแต่งกาย 

                                             นุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแยนยาวคอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูงประดับดอกไม้ล้อม
                                     มวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม

 

ที่มา http://www.kr.ac.th/ebook/laddawan/b2.html         

กลับด้านบน

 

                                     ศิลปะที่โดดเด่น

 

ร่มบ่อสร้าง

                                             การทำร่มบ่อสร้างเริ่มที่บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ การทำร่มที่บ้านบ่อสร้างนั้นเริ่มทำกัน
                                     มาเป็นเวลาช้านานแล้วสันนิษฐานกันว่า คงจะทำกันมาเป็นเวลาร้อยๆปี ขึ้นไป จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่
                                     ของหมู่บ้าน ซึ่งเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพระธุดงค์องค์หนึ่งท่านมี ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านบ่อสร้างได้
                                     ออกไปธุดงค์ที่ประเทศพม่า ท่านได้พบเห็นและได้นำวิธีการทำร่มจากพม่ามาเผยแพร่ในหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อ
                                     เริ่มแรกเดิมทีนั้น การทำร่มมีเพียงแบบเดียวคือการทำร่มจากโครงไม้ไผ่ที่หุ้มด้วยกระดาษ


                                             ร่มประเภทดังกล่าวนี้จะนำไปถวายวัดในฤดูเทศกาลประเพณีต่างๆ ต่อมาการทำร่มได้มีการขยายตัวขึ้น
                                     ชาวบ้านจึงได้ทำร่มเพื่อจำหน่ายกันทั่วไปในตลาด และยังได้มีการพัฒนแบบอย่างและวิธีการให้มีมากขึ้นตาม
                                     ความต้องการของท้องตลาดอีกด้วย ปัจจุบันนี้การทำร่มที่หมู่บ้านบ่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือการทำร่ม
                                     ผ้าฝ้าย การทำร่มแพร การทำร่มกระดาษ


ที่มา http://www.bosang-umbrella.com/         

กลับด้านบน

                                                                                                                  

โครงงานบูรณาการ "ONETกลุ่มสาระการเรียนรู้"
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี