สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ
ประวัติ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ ผู้จัดทำ

สุขศึกษาและพลศึกษา

[การละเล่น] [โรคประจำถิ่น]

                            การละเล่น

ม้าจกคอก

                                                      การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจาก
                                    การละเล่นของชาวลัวะ มีจำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

                                    อุปกรณ

                                    1. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ 5 ศอก จำนวน 2 ท่อน
                                    2. ขอนไม้สูงประมาณ 1 คืบ ยาวประมาณ 1-2 ศอก จำนวน 2 ท่อนสถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง

                                    วิธีการเล่น

                                    1. แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกมี 2 คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ
                                        ส่วนฝ่ายที่ 2 มี 2 คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
                                    2. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่าง
                                        ที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ 3 ครั้งแล้วครั้งที่ 4 ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน
                                        ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอกหรือม้าติดคอก
                                        คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง โอกาสหรือเวลาที่เล่น
                                        การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา 

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~b5410302206/Page4.html         

กลับด้านบน

                                    โรคประจำถิ่น

                                                                                               โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีน

                                                  ไอโอดีนเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซีน ซึ่งหลั่งโดยต่อมไทรอยด์เมื่อร่างกายขาด
                                        ไอโอดีน ปริมาณของไทรอกซีนจะลดลง มีผลให้ต่อมพิทูอิทารี (pituitary) หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์
                                        ของต่อมไทรอยด์ให้มากขึ้น ถ้าต่อมนี้โตมากๆ จะกดหลอดอาหารและหลอดลม ทำให้กลืนอาหารและหายใจได้
                                        ลำบาก ถ้าเป็นในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมลูก จะมีผลทำให้ลูกขาดไอโอดีนได้ เด็กจะมีลักษณะเตี้ยแคระปัญญาอ่อน
                                        และหูหนวก เป็นใบ้ได้แต่กำเนิด

                                                 โรคคอพอกจากการขาดไอโอดีน พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะไอโอดีนเป็นสาร
                                        อาหารที่พบมากในอาหารทะเล นับตั้งแต่ พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา รัฐบาลได้สนับสนุนการป้องกันโรคคอพอกโดยเพิ่ม
                                        ไอโอดีนลงในเกลือที่ใช้รับประทานทำให้อุบัติการของโรคนี้ลดลง

ที่มา http://guru.sanook.com/1514/         

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ"O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้"
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลับปทุมธานี