เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม
ประวัติ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ คณะผู้จัดทำ


การงานอาชีพและเทคโนโลยี


[อาหาร]    [อาชีพ]



ตับหวาน

    

       ตับหวาน
                   ตับหวาน เป็นอาหารอีสานที่ลือชื่อ ปรุงด้วย ตับวัว ความหวานเกิดมาจากเนื้อตับเองที่ลวกทำให้สุกๆ ดิบๆ คือ
         ไม่สุกเต็มที่ความที่ไม่สุกก็เลยทำให้ตับมีรสหวานขึ้นมาได้ ตับหวานนั่นลวกตับอย่างลุกๆ ดิบๆ อาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้
          ในการรับประทานอาหารแบบมีเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ อาจจะมีพยาธิในตับ อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีในตับ
          เชื้อโรคบางอย่างเพื่อความปลอดภัยจึงมีการลวกตับวัวให้สุก เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิที่อาจจะมีอยู่

      เครื่องปรุง

1
 ตับวัว
500
 กรัม
2
 พริกขี้หนู
1
 ช้อนโต๊ะ
3
 ข้าวคั่วป่น
2
 ช้อนโต๊ะ
4
 น้ำมะนาว
3
 ช้อนโต๊ะ
5
 หอมแดงหั่นซอยละเอียด
2
 ช้อนโต๊ะ
6
 น้ำปลา
2
 ช้อนโต๊ะ
7
 ใบสะระแหน่    
8
 ใบโหระพา / กะหล่ำปลี / ยอดผักบุ้งนา / ถั่วฝักยาว    

      วิธีปรุง
         1.เอาตับวัวไปล้างทำความสะอาด แล้วแล่ผ่าออกเป็นชิ้นหนาประมาณ 1 ซม. จึงหั่นเป็นชิ้นๆ
         2.จากนั้นเอาไปลวกในน้ำเดือดให้สุกๆดิบๆ หรืออาจจะให้สุกไปเลยก็ได้สำหรับผู้ที่ชอบสุก ใส่หม้อเล็กเอาไว้เพื่อปรุงด้วยเครื่องปรุงต่อไป
         3. เอาน้ำมะนาวใส่ตับ คลุกเคล้าให้ทั่วถึงกัน ใส่น้ำปลา หอมแดงหั่นซอย ใส่พริกขี้หนูคั่วป่นลงไป ใส่ข้าวคั่วป่น ใส่ใบสะระแหน่ คลุกเคล้ากันให้ทั่วถึงกัน
         4. เมื่อได้รสชาติที่ต้องการแล้ว ตักใส่จานที่มีผักกาดหอมรองเอาไว้พอประมาณ เสิร์ฟได้กับยอดผักบุ้งนา กะหล่ำปลี
             รับประทานคู่กับข้าวเหนียวนึ่งหรือข้าวสวย 

             กลับด้านบน                                                                                                                                            ที่มา : http://uknowledge.org      


การเกษตร





               ชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนาเพราะฉะนั้นหลังฤดูการเก็บเกี่ยว
       ชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ ซึ่งพอจะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้
       อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า ดังนั้นชุดฟ้อนของภาคอีสานจึงมีชุดฟ้อนศิลปาชีพ
       ที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากที่สุด เช่น รำตำหูกผูกขิด เซิ้งสาวไหม ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนเข็นฝ้าย และฟ้อนแพรวา
       ฟ้อนอาชีพจึงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสาน และเป็นการเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นอื่นเห็นความสำคัญของหัตถกรรมพื้นบ้านอีกด้วย
       ฟ้อนศิลปาชีพอีสานมีหลายชุดด้วยกันชาวอีสานส่วนใหญ่มีอาชีพทางเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนา
              
               เพราะฉะนั้นหลังฤดูการเก็บเกี่ยวชาวอีสานก็จะว่างจากการทำงานก็จะทำอาชีพรอง เช่น การทอผ้า การจักสาน การทอเสื่อ ฯลฯ 
       ซึ่งพอจะทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นได้ อาชีพรองที่ชาวอีสานทำกันในแทบทุกจังหวัดของภาคอีสาน คือ การทอผ้า
       ดังนั้นชุดฟ้อนของภาคอีสานจึงมีชุดฟ้อนศิลปาชีพที่เกี่ยวกับการทอผ้ามากที่สุด เช่น รำตำหูกผูกขิด เซิ้งสาวไหม ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนเข็นฝ้าย
       และฟ้อนแพรวา ฟ้อนอาชีพจึงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสาน และเป็นการเผยแพร่ให้คนในท้องถิ่นอื่นเห็นความสำคัญ
       ของหัตถกรรมพื้นบ้านอีกด้วย ฟ้อนศิลปาชีพอีสานมีหลายชุดด้วยกัน

             กลับด้านบน                                                                                                                                            ที่มา : www.trueplookpanya.com         



โครงงานบูรณาการ "O-NET สามกลุ่มสาระการเรียนรู้"
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี