เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม
ประวัติ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ คณะผู้จัดทำ

 

สุขศึกษาและพละศึกษา

[การละเล่นพื้นบ้าน]     [โรคประจำถิ่น]

   
แข่งเรือบก


คำอธิบาย: http://pirun.ku.ac.th/~b5410302206/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/image026.jpg

 

              อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น
                   + ไม้กระดาน ๒ แผ่น
                   + ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
           
              วิธีการเล่น

                  ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า
              อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
             
              เวลาที่เล่น
                  ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์
            
              คุณค่า / แนวคิด / สาระที่ได้จากการละเล่นพื้นบ้าน

                  นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน


             กลับด้านบน                                                                                                                                            ที่มา : http://pirun.ku.ac.th       


โรคคอตีบ

 

 
                     โรคคอตีบ ไม่พบในประเทศไทยมานานกว่า 25 ปีแล้ว คาดว่าน่าจะติดมากับแรงงานประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามารับจ้างในประเทศไทย
              มีสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ ทำให้อักเสบมีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่อาการรุนแรง
              จะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ อาจทำให้เสียชีวิตได้ พิษของเชื้อโรคทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเส้นประสาทส่วนปลาย
              เชื้อโรคคอตีบจะพบอยู่ในคนเท่านั้น ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย พบได้ในคนทุกช่วงอายุ แต่มักไม่พบในเด็กอ่อนอายุต่ำกว่า 6 เดือน
              เนื่องจากเด็กช่วงอายุนี้ได้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจากแม่ ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้จะหมดไปเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนถึงแม้อุบัติการณ์ของโรคจะลดลง
              แต่อัตราป่วยตายค่อนข้างคงที่คือ ประมาณร้อยละ 10
                          ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์
              แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

        
อาการ
                     มีไข้ไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส อาจมีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย เจ็บคอมากทำให้กินได้น้อย หายใจลำบาก หายใจไม่ออก
              หายใจเร็ว หอบ คอบวม และไอเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง เสียงแหบลงเรื่อยๆ
              และอาจมีเลือดปนในน้ำมูก มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ บวม โต
          
         การรักษา
                    
ต้องรักษาในโรงพยาบาล เพราะเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง การรักษาได้แก่ การให้ยาต้านสารพิษของเชื้อโรค
              การให้ยาปฏิชีวนะ และการฉีดวัคซีนโรคคอตีบเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อโรค
              การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้น้ำเกลือและให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ การใช้เครื่องช่วยหายใจ
              ซึ่งบางครั้งอาจต้องเจาะคอถ้าแผ่นเยื่อจากโรคเกาะหนามาก จนทางเดินหายใจแคบเกินกว่าจะหายใจเองได้ และการให้ออกซิเจน
          
         การป้องกัน

                     1. ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย
              จึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอและติดตามดูอาการ 7 วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคย
              ได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้รับไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะฉีดเข้ากล้ามหรือให้กิน เป็นเวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน
              เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ต้องให้ยาปฏิชีวนะพร้อมกับให้ยาต้านเชื้อโรคคอตีบเช่นเดียวกับผู้ป่วย
                     2. ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกัน ซึ่งเป็นวัคซีนรวม โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก
              และโรคไอกรนฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นระยะ เมื่ออายุ 2,4,6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4-6 ปี
              ต่อจากนั้นฉีดกระตุ้นเมื่อ 12-16 ปี เฉพาะวัคซีนคอตีบและบาดทะยัก ไม่ต้องฉีดวัคซีนไอกรนเพราะเป็นโรคมักพบเฉพาะในเด็ก
              และต่อไปฉีดกระตุ้นทุกๆ 10 ปี
                     3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
              ซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบ และลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ติดเชื้อ การรู้จักใช้หน้ากากอนามัย
              และการร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี

 

             กลับด้านบน                                                                                                                                            ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/     

   

โครงงานบูรณาการ "O-NET สามกลุ่มสาระการเรียนรู้"
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี