ศิลปะ
[นาฏศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]

ฟ้อนภูไทเรณูนคร

ประวัติของการฟ้อนภูไทเรณูนคร
เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม
ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2498 นั้น
นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร
ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่า
ฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบัน
รูปแบบและลักษณะการฟ้อนภูไทเรณูนคร
ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวง
เป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนภูไทนั้น
ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด (มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับใหม่ตามจารีตประเพณีได้)
การแต่งกาย
ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อสีน้ำเงิน คอตั้งขลิบแดงกระดุมเงิน มีผ้าขาวม้าไหมมัดเอว สวมสายสร้อยเงิน ข้อเท้าทำด้วยเงิน
ประแป้งด้วยแป้งขาว มีดอกไม้ทัดหูอย่างสวยงาม
ฝ่ายหญิงนั้นนุ่งผ้าซิ่นและสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินขลิบแดง ประดับด้วยกระดุมเงิน พาดสไบสีขาวที่ไหล่ซ้าย
ติดเข็มกลัดเป็นดอกไม้สีแดง สวมสร้อยคอ กำไลข้อมือ ข้อเท้าหรือทำด้วยทองหรือเงินตามควรแก่ฐานะของตน เกล้าผม มีดอกไม้สีขาวประดับผม
กลับด้านบน ที่มา : http://www.isan.clubs.chula.ac.th

พิณ

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของประเทศไทย
พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ซุง" หรือ "เต่ง" จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย
มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 หรือ 4 สาย
บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีลำซิ่ง หรือวงดนตรีลูกทุ่ง
ที่มา : https://th.wikipedia.org/
โหวด

โหวด เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่า มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับ
ที่ใช้ทำแคน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า "Pan Pipe"
ที่มา : https://th.wikipedia.org/
กรับคู่

กรับคู่ ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน
มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่ หนาตามขนาดของเนื้อ ไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่
ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับ
กลับด้านบน ที่มา : https://th.wikipedia.org/

ถ้ำฝ่ามือแดง

ถ้ำฝ่ามือแดง เป็นภูเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน ห่างจากหมู่บ้านส้มป่อยที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 4 กม.
ลักษณะเป็นหน้าผา ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูยาวประมาณ 61เมตร ภาพเขียนสีโบราณอยู่บนผนังหินของหน้าผา
ใต้ลานหินของยอดภูไปจนสุดหน้าผา ภาพเขียนสีโบราณอยู่สูงจากพื้น ประมาณ 5 เมตร
ถ้ำฝ่ามือแดงอยู่ในบริเวณภูอ่างบก (ภูจอมนาง หรือ เขาจอมนาง) อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ จังหวัด มุกดาหาร
ภาพเขียนสีโบราณ มีรูปรอยฝ่ามือสีแดงติดผนังถ้ำ ซึ่งมีลักษณะเป็นการจุ่มสีแล้วทาลงไปบนผนังหิน 2 มือ และอีก 4 มือ
เป็นร่องรอยการวางมือทาบบนผนังหินแล้วใช้สีทับ เป็นร่องรอยการสื่อความหมายของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อายุประมาณ 3,000 ปี
ภาพเขียนสีโบราณ รูปมือพบมือคนจำนวนทั้งหมด 9 มือ กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยมือ 7 มือ ทำโดยวิธีพ่น 4 มือ และแบบทาบ 5 มือ
ทั้งหมดเป็นมือข้างขวา เป็นมือข้างซ้ายเพียงมือเดียว สีแดงคล้ำภาพสัตว์ พบภาพสัตว์ 3 ภาพ เขียนแบบระบายเงาทึบภาพวัตถุ
และภาพสัญลักษณ์ เป็นลายเส้นทึบ ไม่แน่ชัดว่ารูปอะไร
กลับด้านบน ที่มา : www.remawadee.com

|