สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร] [อาชีพ]

                                 อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
                         ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขต
          เข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลาย
          จากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา   ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักมีน้ำพริก
          ชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด   เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพ
          อากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ  การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมัน
          มาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า  จึงนิยมนำพืชพันธุ์
          ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้านอาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มี
          การผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้น มีสำรับอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ


   แกงอ่อม


                         แกงอ่อมเป็นอาหารยอดนิยมอย่างหนึ่งในบรรดาอาหารเหนือทั้งหลาย โดยเฉพาะในเทศกาลงานเลี้ยงโอกาสพิเศษต่าง ๆ
          แกงอ่อมเป็นแกงที่ใช้เนื้อได้ทุกประเภท เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่

          เครื่องปรุง / ส่วนผสม      

          1. เนื้อต่างๆ ครึ่งกิโลกรัม
          2. เกลือป่น 1 ช้อนชา
          3.ข้าวเบื่อ 1 ช้อนโต๊ะ
          4. น้ำปลาร้า 1 ช้อนโต๊ ะ
          5. น้ำปลา 1 ช้อนชา
          6. ผงชูรส 1 ช้อนชา                                                                                                                                                                                      
          7. ผักชีลาว 2 กำมือ
          8. ใบแมงลัก
          9. พริกขี้หนู 10 - 15 เม็ด
         10. ตะไคร้ 1 ต้น
         11. ผักติ้ว/มะขามเปียก/มะเขือเทศ

          ขั้นตอน / วิธีทำ

        1. หั่นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ
        2. โขลกพริกขี้หนู ตะไคร้สอยบางๆ ข้าวเบื่อ เกลือเล็กน้อย โขลกรวมกันให้ละเอียด
        3. นำเครื่องปรุงและเนื้อหั่น ใส่น้ำเล็กน้อย เติมน้ำตาล ๑ช้อนโต๊ะ เกลือเล็กน้อย                                                                                                                                                                                                                                                                             

ที่มา http://library.cmu.ac.th/

 

 

                                         ข้าวซอย
                               ข้าวซอยป็นอาหารของไทลื้อ ที่นำมาเผยแพร่ในล้านนาหรือภาคเหนือ ตามตำรับเดิมจะใช้พริกป่นผัดโรยหน้า
                    ด้วยน้ำมันเมื่อมาสู่ครัวไทยภาคเหนือก็ประยุกต์ใช้พริกแกงคั่วใส่กะทิลงไป เคี่ยวให้ข้น ราดบนเส้นบะหมี่ ใส่เนื้อหรือไก่
                    กินกับผักกาดดอง หอมแดงเป็นเครื่องเคียง

                                        ส่วนผสม                                                                                                                                                                                       
                             น่องไก่ 1 กิโลถ้วยตวง หรือเนื้อหั่นเต๋า 1 กิโลถ้วยตวง(ถ้าเป็นเนื้อจะเหนียว ควรน้ำไปต้มก่อนปรุง) , เส้นข้าวซอย 1/2 กิโลถ้วยตวง
                    (บะหมี่เหลืองเส้นแบน) , น้ำมันพืชสำหรับทอด , กะทิ 5 ถ้วย , พริกแห้ง 10 เม็ด , กระเทียม 10 กลีบ , หอมแดง 10 หัว , ผิวมะกรูด 1 ลูก ,
                    กระชาย 5 หัว , ขมิ้น 2 ชิ้นตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ , น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ , กะปิ 3 ช้อนโต๊ะ , ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ    

                                      เครื่องเคียง
                           พริกป่นผัดน้ำมัน , หอมแดง , ผักกาดดอง , มะนาวหั่นซีก , ผักชี ต้นหอม

                                วิธีการทำ

                            1. ทำเส้นกรอบสำหรับโรยหน้าโดยตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่เส้นข้าวซอยที่คลี่ออกจากกันแล้ว ทอดพอเหลืองกรอบพักไว้

                            2. โขลกหรือปั่นเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียดพักไว้

                            3. ตั้งน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือดใส่เครื่องแกงผัดจนหอม เติมผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อยผัดต่อจนกะทิแตกมันมีกลิ่นหอม
                    ใส่ไก่หรือเนื้อที่เตรียมไว้ลงไปผัดต่อให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อยพอขลุกขลิก ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิทั้งหมด เคี่ยวต่อจน
                    ไก่นุ่มหรือเนื้อนุ่ม

                           4. ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น จัดเสิร์ฟลงจาน เติมน้ำข้าวซอย ตกแต่งด้วยเส้นหมี่กรอบ
                    และเครื่องเคียงให้สวยงาม


ที่มา http://www.fungfink.com/food/

 

 

แกงโฮะ 

                        คำว่า โฮะ แปลว่า รวม แกงโฮะก็คือแกงที่นำเอาอาหารหลายอย่างมารวมกัน สมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารหลายอย่างที่เหลือ
                    จากงานบุญมาผัดรวมกัน แต่ปัจจุบันใช้เครื่องปรุงใหม่ทำก็ได้หรือจะเป็นของที่ค้างคืนและนำมาปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง แกงโฮะเป็นอาหาร
                    ที่นิยมแพร่หลายมีขายกันแทบทุกร้านอาหารพื้นเมืองในภาคเหนือ

                   ส่วนผสม

                   แกงฮังเล 1 ถ้วย , วุ้นเส้น 1 ถุง , หน่อส้ม (หน่อไม้ดอง) 1 ถุง , ผักนานาชนิดใส่ได้หมด แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมก็จะเป็น ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโกสน
                    มะเขือพวง ถั่วฝักยาว ฯลฯ

                 ขั้นตอนการทำ

                  ขั้นตอนที่ 1 นำหน่อไม้ดองไปต้มให้สุกจากนั้นนำมาคั้นเอาน้ำออก

                  ขั้นตอนที่ 2 นำผักไปล้างแล้วหั่นผักต่างๆเป็นชิ้นพอเหมาะ

                  ขั้นตอนที่ 3 นำวุ้นเส้นไปแช่น้ำให้นิ่ม

                  ขั้นตอนที่ 4 ตั้งน้ำมันผัดหน่อไม้ดอง

                  ขั้นตอนที่ 5 ใส่มะเขือพวงกับถั่วฝักยาวลงไปผัดให้สุก

                  ขั้นตอนที่ 6 เมื่อมะเขือพวงกับถั่วฝักยาวสุกแล้วให้ใส่ผักต่างๆลงไป

                  ขั้นตอนที่ 7 เมื่อผักทั้งหมดใกล้สุกให้เราใส่แกงฮังเลลงไปผัด

                  ขั้นตอนที่ 8 ผัดแกงฮังเลและผักให้เข้ากันตามด้วยวุ้นเส้น

                  ขั้นตอนที่ 9 ผัดให้วุ้นเส้นสุก มื่อวุ้นสุกแล้วเติมผงชูรส น้ำปลาตามใจชอบ ตักเสริฟได้เลย

ที่มา http://www.chiangrai108.com/

กลับด้านบน

 

 

                  เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน อาชีพเกษตรกรรมที่ควร
                  รู้จักมีหลายอาชีพดังนี้

                                        1. ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนไทยตั้งแต่อดีตเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา เรียกว่า ชาวนา
                    อาชีพชาวนาจึงเป็นอาชีพที่สำคัญเพราะเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนในประเทศไทย ชาวนาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
                                       2. อาชีพทำสวน เป็นอาชีพที่ปลูกผักหรือผลไม้ ผู้ที่ประกอบอาชีพทำสวนเรียกว่า ชาวสวน คือการปลูกผลไม้ ผัก หรือไม้ดอกต่างๆ
                    การทำ สวนในเเต่ละภาคเป็นตามสภาพ ภูมิอากาศภาคเหนือนิยมปลูกผัก เเละ ผลไม้เมืองหนาวต่างๆ ภาคใต้ทำสวนยาง พารา มะพร้าว
                    ภาคตะวันออก ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน เป็นต้น
                                        3. อาชีพทำไร่ เป็นอาชีพที่ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด สับปะรด ผู้ที่ประกอบอาชีพทำไร่เรียกว่า ชาวไร่                   
                                        4. อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพสำคัญของไทยควบคู่กับการเพาะ ปลูก เเละการประมง เดิมการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่มักเลี้ยง เพื่อเป็น
                    อาหารหรือ ไว้ใช้งาน
                                       5.อาชีพประมง เป็นอาชีพที่จับสัตว์นำหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ที่ประกอบอาชีพประมงเรียกว่า ชาวประมง การประมงของประเทศไทย
                    มีมากทางเเถบ ทางใต้เเละภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย บริเวณเลียบชายฝั่งทะเล สัตว์น้ำที่ทำการ ประมง ได้เเก่ ปู ปลา กุ้ง หอย ซึ่งนอกจาก
                    จะเป็นอาหารภายในประเทศเเล้ว เรายังส่ง เป็นสินค้าออก

 

                                        อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ และการนำผลผลิตจากเกษตรกรรมมาผลิตเป้นสินค้าที่ใช้เครื่องจัก
                    เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เช่น ปลากระป๋องผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป


 

                                        อาชีพหัตถกรรม เป็นอาชีพที่เอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ด้วยมือเป็นสินค้า เช่น ร่มบ่อสร้าง , งานแกะสลักหมู่บ้านถวาย

 

                                       อาชีพค้าขาย เราเรียกผู้ที่มีอาชีพค้าขายว่า พ่อค้า หรือ เเม่ค้า ซึ่งเป็นผู้ที่นำผลิตผลต่างๆ มาจำหน่าย เเก่คนในชุมชน ทำให้คนใน
                    ชุมชนได้รับความสะดวกสบายไม่ต้องไปซื้อหาผลิตผลเหล่านั้นจากผู้ผลิตอาชีพของประชากรไทยส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่อาชีพเกษตรกรรม
                    อันเป็นอาชีพดั้งเดิมของชนชาวไทย รองลงมาคือ อาชีพด้านอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม นอกจากนี้ก็ประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้แก่
                    อุตสาหกรรมบริการ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ การเมือง แพทย์ ทนายความ และอีกหลายสาขาอาชีพ ตลอดจนผู้ใช้ฝีมือแรงงาน ทำนา มีฝนตก
                    ต้องปลูกบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทำสวน บริเวณที่อุดมสมบูรณ์ ทำไร่ บริเวญที่อุดมสมบูรณ์ เลี้ยงสัตว์ ภูมิอากาศแห้งแล้ง เป็นทุ่งหญ้า

ที่มา http://nutnichaintharat.blogspot.com/2013/02/1.html

กลับด้านบน


โครงงานบุรณาการ O-Net สามสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี