สวยศิลป์ล้านนา เสน่หาทะเลหมอก ป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณี ชนเผ่ามีมาก หลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตก เสน่ห์โลกถิ่นเหนือ

ศิลปะ

[นาฏศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]

 

ชุดการแสดงภาคเหนือ 

 

ชื่อชุด ฟ้อนที

ประวัติ คำว่า “ที” หมายถึง “ร่ม” เป็นคำภาษา “ไต” ใช้เรียกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ที” 

                                              ทางภาคเหนือมีลักษณะและรูปทรงแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด  “ที่ ที่ชาวแม่ฮ่องสอนนิยม
               ใช้มีรูปทรงสวยนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการรำได้ฟ้อนรำทีเป็นผลงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่จัดแสดง
               ในงานนิทรรศการ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมของสถานศึกษาในสังกัดกองศิลปศึกษากรมศิลปากร                                                                                              เพื่อเทิดพระเกียติมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ณ โรงละครแห่งชาติ  
              เมื่อเดือนสิงหาคมพ.ศ.๒๕๓๕รูปแบบการแสดงการแสดงชุดนี้นำร่มมาใช้ประกอบลีลานาฎศิลป์โดยมีท่าฟ้อนเหนือของเชียงใหม่
              ผสมกับท่ารำไต ของแม่ฮ่องสอนมีการแปแถว และลีลาการใช้ร่มในลักษณะต่าง ๆ ที่งดงาม เช่น การถือร่ม การกางร่ม  การหุบร่ม                                                  เป็นต้นดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้ดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือประสมวง ได้แก่ สะล้อกลาง สะล้อเล็ก ซึ่งใหญ่ ซึงกลาง ซึงเล็ก ขลุ่ย                                  กลองพื้นเมืองการแสดงชุดนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐นาท                

               การแต่งกายการแต่งกายมุ่งเน้นความสวยงามของเครื่องแต่งกายตามประเพณีนิยมภาคเหนือแบ่งเป็น ๒   แบบคือแบบหญิงไทลื้อ และแบบหญิงล้าน     
              นุ่งซิ่นลายขวาง เสื้อปั๊ด เกล้าผมสูงประดับดอกไม้เงิน ผ้าเคียนศีรษะประดับกำไลข้อมือ ต่างหูแบบล้านนา นุ่งซิ่นตีนจก ผ้าคาดเอว เสื้อเข้ารูปแขนยาว 
              เกล้าผมมวยตั้งกระบังผมหน้าสูง ประดับดอกไม้เงินเครื่องประดับมีเข็มขัด กำไลข้อมือ สร้อยคอ ต่างหู

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/305796

กลับด้านบน

 

เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ

 

          1.ซึง เป็นเครื่องดีด มี 4 สาย สันนิษฐานว่า น่าจะดัดแปลงแก้ไขวิวัฒนาการมาจากพิณเทียะ ลักษณะของ ซึงตัวกะโหลก และคันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
            เช่น ไม้ประดู่ ไม้สักชิ้นเดียวกัน ชาวไทยภาคเหนือ นิยมเล่นซึงกันมาช้านาน ตามปกติใช้เล่นร่วมกับปี่ซอ หรือพวกหนุ่ม ๆ ใช้ดีดเล่นขณะไป "แอ่วสาว"

             

       2.ปี่ซอ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องยาว มีหลายขนาด ความยาวตั้งแต่ 45 - 80 ซม. สำรับหนึ่งมีจำนวน 3 เล่ม 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม ปี่ซอถ้าใช้ 3 เล่ม มี 3 ขนาด                 เล่มเล็กเป็นปี่เรียกว่า ปี่ต้อย เล่มกลางเรียกว่า ปี่กลาง และเล่มใหญ่เรียกว่า ปี่ใหญ

 

        

     3.กลองแอว์ เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียวเช่นเดียวกับกลองยาวของภาคกลาง แต่มีขนาดยาวและใหญ่กว่าหลายเท่า เหตุที่เรียกว่ากลองแอว์ ก็หมายความว่า         กลองมีสะเอวนั่นเอง

        (แอว์คือเอว) ตัวกลองกว้างใหญ่ เอวคอด ตอนท้ายเรียว และปลายบานคล้ายดอกลำโพงกลองชนิดนี้มีประจำตามวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือเกือบทุกวัด

         สำหรับใช้ตีเป็นสัญญาณประจำวัด นอกจากนี้ ยังใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ประกอบการเล่นพื้นเมือง และใช้ตีเข้าขบวนแห่ในงานพิธี "ปอยหลวง"

           งานแห่ครัวทาน 

         และงาน "ปอยลูกแก้ว" (บวชเณร)

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/220952

กลับด้านบน

 

วิหารลายคำ วัดพระสิงห์

             จิตรกรรมฝาผนังวิหารลายคำที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร สีที่ใช้เป็นวรรณสีเย็นที่มีสีน้ำเงินครามและสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มีสีแดง สีเขียว

             สีน้ำตาบ  

             สีดำและสีทองซึ่งใช้เขียนส่วนที่เป็นโลหะปิดด้วยทองคำเปลวตัดด้วยสีแดงและ ดำ เช่น เชิงหลังคาและยอดปราสาท สิ่งของเครื่องใช้ เช่น อาวุธ

               เครื่องประดับ 

             จิตรกรรมฝาผนังที่งดงามประดับตลอดทั้งอาคาร แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
            1. ภาพลายทองล่องชาด เทคนิคฉลุกระดาษบนเสาและผนังด้านหลังพระประธาน เป็นงานแบบลวดลายเกือบทั้งหมด  

               ลายทองบนผนังด้านหลังพระประธาน  จุดเด่นคือมีการใช้ทองมากเป็นพิเศษ ทำให้พระพุทธรูปดูเด่นเป็นสง่า


            2. จิตรกรรมภาพเขียนสี เป็นภาพเล่าเรื่อง ตลอดผนังด้านข้าง ทิศเหนือเขียนเรื่อง สังข์ทอง ทิศใต้เขียนเรื่องสุวรรณหงส์

               (ประชิด สกุณะพัฒน์, 2551, หน้า 165) ภาพ จิตรกรรมฝาผนังของวัดนี้เขียนไว้ที่ผนังด้านในของวิหารลายคำ การจัดวางภาพ ตอนบนของผนังทั้ง 2

                ด้าน เขียนภาพเทพชุมนุม เป็นรูปเทวดาเหาะอยู่กลางอากาศผนังระดับใต้เทวดาเหาะ เขียนเล่าเรื่องนิทานชาดก

                ผนังด้านซ้ายเขียนเรื่องสังข์ทองด้านขวาเขียนเรื่องสุวรรณหงส์ เทคนิคในการเขียนใช้สีเขียวและครามมาก

                เน้นความสวยงามของตัวปราสาทราชวังโดยการปิดทองให้ดูเด่นสะดุดตา การเขียนต้นไม้ใช้พู่กันหรือเปลือกกระดังงากระทุ้งทำเป็นพุ่มไม้

                แล้วเขียนกิ่งก้านเพิ่มลงไป อายุของจิตรกรรมอยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ 5

ที่มา https://thaiculturebuu.wordpress.com/2010/08/30/งานจิตรกรรมที่สำคัญในจ-2/

กลับด้านบน


โครงงานบุรณาการ O-Net สามสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี