เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่นโบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวางามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร]  [อาชีพ]

 

อาหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผัดหมี่โคราช

                   ส่วนผสมสำหรับทำผัดหมี่โคราช

                   เส้นหมี่โคราช          1           ถ้วย
                   กระเทียมบด             1          ช้อนชา
                   หอมแดงซอย           1          ช้อนโต้ะ
                   หมูสับ                      2          ช้อนโต้ะ
                   เต้าเจี้ยว                  1           ช้อนโต้ะ
                   น้ำปลา                    2          ช้อนโต้ะ
                   น้ำตาล                    2          ช้อนโต้ะ
                   น้ำมะขามเปียก        1          ช้อนโต้ะ
                   ซีอิ้วดำ                     1          ช้อนชา
                   พริกไทย                  1         ช้อนชา
                   น้ำเปล่า                    3         ช้อนโต้ะ
                   น้ำมันพืช                  2         ช้อนโต้ะ
                   ถั่วงอกและใบหอม    1        ถ้วยตวง

 

                           วิธีทำทำผัดหมี่โคราช

               1. ตั้งกระทะน้ำมัน นำกระเทียม หอมแดง และหมูสับลงไปผัดให้หอม จากนั้นใส่เส้นหมี่โคราชลงไป
               2. ใส่น้ำปลา น้ำตาล ซีอิ้วดำ น้ำมะขามเปียก เต้าเจี้ยว และน้ำเปล่าลงไป ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันกับเส้นและเมื่อเส้นเริ่มนุ่มแล้ว
               3. ใส่ถั่วงอกและใบหอมลงไปผัดกับเส้นหมี่ในกระทะ ผัดให้เข้ากัน
               4. เสริฟใส่จานโดยหน้าด้วย พริกไทย ถั่งลิสงบดและพริกป่น
              ผัดหมี่โคราช วิธีทําผัดหมี่โคราช วิธีผัดหมี่โคราช สูตรผัดหมี่โคราช หมี่โคราช วิธีทำผัดหมี่โคราช วิธีทําผัดหมี่ วิธีการทำผัดหมี่โคราช

 

ที่มา http://xn--22c0cyai3bl9ab.blogspot.com/2014/02/blog-post_11.html

กลับด้านบน

 

 

 

อาชีพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การเลี้ยงไหม

ความรู้ด้านการเลี้ยงไหม

            เกษตรกรไทยทำการประกอบอาชีพการเลี้ยงไหมมาเป็นเวลานานโดยเฉพาะการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน มีการถ่ายทอดวิชาความรู้เทคนิคต่าง ๆ                   สืบเนื่องต่อมาเป็นช่วง ๆ จากบรรพบุรุษ ต่อมาผลิตไหมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สินค้าเกษตรกรชนิดหนึ่งในเชิงเศรษฐกิจ    การเลี้ยงไหมในระบบดั้งเดิมจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องของพันธุ์ไหมเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไหมอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 


                   วัยอ่อน
          ไหมวัยอ่อน  หมายถึง หนอนไหมนับตั้งแต่ออกจากไข่จนถึงวันที่ ๓   การเลี้ยงหนอนไหมวัยอ่อนนิยมเลี้ยงเป็นชั้น  โดยใส่กล่อง            หรือกระด้งที่ทำด้วยตะแกรงเหล็กอาบพลาสติก   หรืออะลูมิเนียม นำใบหม่อนที่หั่นแล้วมาโรยให้หนอนไหมกินเป็นเวลาเช่นเดียวกับหนอนไหมวัยแก่  แต่ต้องหมั่นเกลี่ยหนอนให้กระจายสม่ำเสมอก่อนให้อาหาร  มิฉะนั้นจะทำให้หนอนเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ควรรักษาความชื้น และอุณหภูมิมิให้สูงกว่าไหมวัยแก่ในประเทศญี่ปุ่น   นิยมเลี้ยงหนอนไหมในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น     เพราะจะทำให้หนอนไหมแข็งแรง และเติบโตสม่ำเสมอดีมาก ได้ผลคุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม

     
     วัยแก่
       หมายถึง  หนอนไหมวัย  ๔-๕ (อายุประมาณ ๑๒-๑๓วัน) ซึ่งเป็นไหมที่โตแล้ว   การเลี้ยงดูง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำง่ายเหมือนไหมวัยอ่อน เลี้ยงได้ ๓ วิธี
          ๑. เลี้ยงเป็นกระด้ง วางบนชั้น ให้อาหารเป็นใบๆถ้าเลี้ยงมากๆ เสียเวลาในการให้อาหารมาก
          ๒. เลี้ยงเป็นโต๊ะ (๑.๒๐ x ๒.๕๐ เมตร) ให้อาหารเป็นกิ่งหม่อนทั้งกิ่ง  เลี้ยงได้รวดเร็ว แต่ต้องมีสวนหม่อนที่ดี มีปริมาณใบเพียงพอ
          ๓. เลี้ยงเป็นชั้นเลื่อน ขนาดของชั้นพอๆ กับโต๊ะและสามารถเลื่อนขึ้นลงได้ ซึ่งจะทำให้ใช้เนื้อที่ได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะในเนื้อที่เท่ากันจะเลี้ยงไหมได้มากกว่าแบบโต๊ะในการเลี้ยงเป็นจำนวนมากๆ มักนิยมแบบที่ ๒ และแบบที่ ๓

ลักษณะไหมนอน
 

          "ไหมนอน"  หมายถึง      หนอนไหมที่จะลอกคราบเพื่อเปลี่ยนวัยเจริญเติบโตขึ้น ปกติจะใช้เวลาประมาณ ๒๔ ชั่วโมงไหมนอนมีลักษณะดังนี้

          ๑. หนอนไหมจะหยุดกินอาหาร ยกหัวขึ้น
          ๒. จะมีรอยสามเหลี่ยมเกิดขึ้นด้านบน ระหว่างรอยต่อตัวกับส่วนอก
          ๓. มักจะหลบหนีแสงอยู่ในที่มืดกว่าหนอนไหมที่ยังไม่นอน
          ๔. หัวกะโหลกสีคล้ำและยื่นออกไปเล็กน้อย
          ๕. เมื่อลอกคราบแล้ว (ไหมตื่น) จะมีลักษณะตรงกันข้าม


ลักษณะไหมสุก

          "ไหมสุก" หมายถึง หนอนไหมที่เจริญเติบโตเต็มที่ และเริ่มจะชักใยทำรัง ไหมสุกมีลักษณะดังนี้

          ๑. เริ่มหยุดกินอาหารและไต่ขึ้นบนหรือออกนอกกลุ่ม
          ๒. ผนังลำตัวเริ่มบางใส
          ๓. มูลที่ถ่ายออกมาจะมีสีน้ำตาลมากกว่าสีเขียวคล้ำ
          ๔. ชูส่วนหัวส่ายไปมา และเคลื่อนไหวมากเมื่อพบหนอนดังกล่าวมักจะเป็นวัย ๕ วันที่ ๘ ก็ต้องเก็บหนอนไหมเหล่านี้ใส่  "จ่อ" (ที่ที่ให้หนอนไหมทำรัง) ต่อไป จ่อที่ทำด้วยกระดาษแข็งเป็นตาราง  ๓  x  ๕ เซนติเมตร แผงละ ๑๕๖ช่อง (กว้าง ๑๒ ช่อง ยาว ๑๓ ช่อง)    จะประกอบกันเป็น ๑ ชุดชุดละ ๑๐ แผง   แขวนในโครงไม้  สามารถหมุนได้รอบตัว หรือจะใช้จ่อลวดก็ได้  ไม่ควรใช้จ่อพื้นเมือง เพราะจะทำให้รังเสียมาก

 

 

     ภูมิปัญญาของชาวบ้านสมพรรัตน์นอกจากจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้คุณภาพดีแล้ว ชาวบ้านยังมีเทคนิควิธีในการเก็บพันธุ์หนอนไหม เพื่อใช้ในการเลี้ยงครั้งต่อไปอีกด้วย เรียกว่า การต่อไหม

การต่อไหม หรือ การเก็บพันธุ์หนอนไหมนั้น ชาวบ้านจะเลือกเอารังไหมที่จะให้กำเนิดผีเสื้อไหมหรือบี้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย การคัดเลือกจะเลือกรังไหมที่สมบูรณ์โดยการสังเกตจากรูปร่างภายนอก และจะเลือกเพศของบี้ด้วยวิธีการสั่นหรือเขย่ารังไหม กล่าวคือ เมื่อเขย่ารังไหมแล้วแล้วถ้ารังไหนสั่นหรือคลอนมาก มีน้ำหนัก รังไหมนั้นจะเป็นบี้ตัวเมีย ถ้ารังไหนสั่นหรือคลอนน้อย น้ำหนักเบาจะเป็นบี้ตัวผู้ คัดเลือกรังไหมให้ได้จำนวนตามที่ต้องการโดยประมาณจากปริมาณใบหม่อนที่จะนำมาเลี้ยง และจำนวนเส้นไหมที่ต้องการ ซึ่งจากประสบการณ์การเลี้ยงหนอนไหมรังไหมจำนวน300ฝักจะใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงประมาณ1ไร่ และรังไหมประมาณ 40 ฝัง

 

ที่มา http://www.qsds.go.th/KMweb/knowledge/knowledge12.html

 

กลับด้านบน

                         

                                                    

 

โครงงานบูรณาการ O-net 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี