สุขศึกษาและพลศึกษา
[การละเล่น] [โรคประจำถิ่น]
การละเล่นพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การเล่นงูกินหาง

ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ร้อยเอ็ดอุปกรณ์ และวิธีเล่น การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
เมื่อพ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะ พยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงู ได้เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
http://nantanat1998.blogspot.com/p/blog-page_6099.html
กลับด้านบน

โรคประจำถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคที่เกิดจากท่อน้ำดีภายในตับติดเชื้อพยาธิ ที่เรียกว่า พยาธิใบไม้ตับ
ซึ่งส่งผลให้ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบเรื้อรังร่วมกับเกิดการอุดตันของท่อน้ำ ดีในตับจากตัวและไข่ของพยาธิ จึงส่งผลให้เกิดภาวะตับโตตัว
พยาธิใบไม้ตับมีหลายชนิด ขึ้นกับแต่ละภูมิประเทศ โดยโรคพยาธิใบไม้ตับ พบได้บ่อยในบางภูมิประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ทั่วโลก มีรายงานโรค ที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis sinensis หรืออีกชื่อคือ Clonorchis sinensis หรือ ที่เรียกว่า Chinese liver fluke ประมาณมากกว่า 35 ล้านคน (เป็นโรคประจำถิ่นใน จีน ไต้ หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม)
ที่เกิดจากชนิด Opisthorchis viverrini (โรคประจำถิ่นในประเทศ ไทย กัมพูชา ลาว และเวียด นาม) ประมาณมากกว่า 23 ล้านคน
และชนิด Opisthorchis felineus (โรคประจำถิ่นใน ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก) ประมาณมากกว่า 16 ล้านคน
ในประเทศไทย พยาธิใบไม้ตับพบได้ในทุกอายุตั้งแต่ในเด็กเล็กไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยอายุที่พบโรคได้สูงสุดคือ ช่วง 55-64 ปี พบในผู้หญิงและผู้ชายใกล้เคียงกัน
ในประเทศไทย พบโรคได้จากพยาธิใบไม้ตับชนิดเดียว คือ Opisthorchis viverrini โดยในช่วงอายุ 0-4 ปีพบได้ 0.64 รายต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนช่วงอายุ 55-64 ปีพบได้ 1.81 รายต่อประชากร 1 แสนคน โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงไป คือ ภาคเหนือ และพบได้บ้างในภาคกลาง แต่พบได้น้อยในภาคใต้ จังหวัดที่พบโรคได้สูง 10 จังหวัดเรียงจากที่พบมากที่สุดลงไปตามลำดับ ที่สำรวจในปี พ.ศ. 2550 คือ สกลนคร (22.68 รายต่อประ ชากร 1 แสนคน) น่าน ลำพูน แพร่ ศรีสะเกษ ลำปาง ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา และยโสธร (0.93 รายต่อประชากร 1 แสนคน)
โรคพยาธิใบไม้ตับจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับทุกชนิด จะเหมือนกัน กล่าว คือในระยะแรกที่ติดโรค และพยาธิใบไม้ตับยังมีปริมาณไม่มาก รวมทั้งเนื้อตับยังมีการอักเสบเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ต่อมา เมื่อมีการติดเชื้อเรื้อรัง พยาธิมีจำนวนมาก และตับเสียหายมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอา การได้ แต่ไม่มีอาการเฉพาะของโรคนี้ อาการจะเหมือนอาการของโรคระบบทางเดินอาหารทั่ว ไป เช่น ปวดท้อง มักปวดบริเวณตับ (ปวดท้องด้านขวาตอนบน) จากตับอักเสบ แน่นอึดอัดท้องจากตับโต อาจคลำพบตับได้ (ปกติจะคลำไม่พบตับ) ซึ่งผู้ป่วยอาจให้อาการว่ามีก้อนในท้องด้านขวาบน นอกจากนั้น คือ อาการคล้ายอาการจากภาวะอาหารไม่ย่อย (ท้องอืด ท้องเฟ้อ) เบื่ออาหาร อาจท้องเสียเรื้อรัง หรือท้องเสียสลับท้องผูก เมื่อโรคเป็นมากขึ้น คือตับอักเสบเสียหายมาก ร่วมกับตัวพยาธิ และไข่พยาธิอุดตันทาง เดินน้ำดีในตับมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องด้านขวาบนเพิ่มมากขึ้น แน่นท้องจากตับโตมากขึ้น มีตัวตาเหลืองจากมีการอุดกั้นท่อน้ำดี ส่งผลให้ น้ำดีที่สร้างจากตับไม่สามารถไหลลงสู่ลำไส้เล็กได้ตามปกติ จึงเกิดอาการของโรคดีซ่าน ร่วมกับผู้ป่วยผอมลง/น้ำหนักลด เบื่ออาหารมากขึ้น และมักมีน้ำในท้อง/ท้องมาน ร่วมกับอาการตัวบวม โดยเฉพาะบวมเท้า จากภาวะร่าง กายขาดอาหาร โดยเฉพาะอาหารโปรตีน เมื่อตับอักเสบมากขึ้นๆ ตับจะสูญเสียการทำงาน เกิดภาวะตับวายและผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด
http://haamor.com/th/โรคพยาธิใบไม้ตับ
กลับด้านบน
