เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น  โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวางามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวยรวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม

ศิลปะ

[นาฎศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]

 

การแสดงภาคอีสาน

 

    

 

   ชุดเซิ้งโปงลา

          เซิ้งโปงลาง หาโปรงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ
ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้า
ขายยังต่างแดน ระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันพบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า ขอลอ หรือ
เกาะลอ ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า โปงลาง ละนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็น
โปรงลางที่นิยมกันได้แก่  ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม

เครื่องแต่งกาย   


หญิงสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น  นุ่งผ้ามัดหมี่   ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่   ผูกโบว์ตรงเอว    ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ 

ผู้ชายใส่เสื้อม่อฮ่อม  กางเกงขาก๊วย  ผ้าคาดศีรษะ  คาดเอว


 ที่มา: http://www.chitasamta.blogspot.com/

 

         กลับด้านบน

                                                        

เครื่องดนตรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

แคน จัดเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดชาวอีสานมีเสียงคล้ายออร์แกน แคนมีส่วน
ประกอบที่สำคัญ คือ เต้าแคน ไม้กู่แคน ลิ้นแคน ขี้สิ่วและมีดเจาะเป็นโพรง เพื่อสอดลูกแคนเรียงไว้ในเต้าแคน
เจาะส่วนหน้าเป็นรูปเป่าเพื่อบังคับลมเป่าให้กระจายไปยังลิ้นแคนอย่างทั่วถึง ไม้กู่แคน ทำด้วยไม้ซางหรือ
ไม้รวกเล็ก ๆ ที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะและลดหลั่นกัน นำมามาเจาะให้ทะลุข้อ ตัดให้ตรง ตัดให้ได้
ขนาดสั้น ยาวไดสัดส่วน เจาะรูสำหรับใส่ลิ้น ลิ้นแคนทำจากโลหะทองแดง หรือทองแดงผสมเงิน นำไปหลอม
และนำมาตีเป็นแผ่น ให้ได้ขนาดและความหนาบางตามต้องการ นำมาตัดให้ได้ตามขนาดต่าง ๆ แล้วนำไป
สอดใส่ในกู่แคน แต่ละอันตามแผนผังเสียงของแคน

พิณ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย
และไม้ดีดกระโหลกและคันพิณ นิยมทำมาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนุนหรือไม้ประดู่
กระโหลกของพิณ มีหลายรูปทรง ทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยมหรือรูปไข่ กล่องเสียงเป็นสี่เหลี่ยมมนหรือ
คล้ายใบไม้ สายพิณเดิมทำด้วยสายไหม แต่ปัจจุบันทำด้วยสายลวดมี 2-4 สาย ตอนปลาย ทำเป็น
ลวดลายหัวพญานาคใช้ดีดด้วยแผ่นบาง ๆ

พิณไห เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดทำจากไหซองหรือไหกระเทียมทำไหขนาดลดหลั่นตามที่ต้องการมา 3-7
ใบใช้ยางสติ๊กที่ตัดจากยางในรถจักรยานมาจึงไว้ที่ปากไหดีดให้จังหวะเป็นเสียงเสพเวลาเล่นใช้มือดึงเส้น
ยายนี้ให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำแต่ต่อมาผู้ดีดไหเป็นเพียงผู้มาทำท่าดีดแต่งตัวสวยงามมารำเพราะคนชอบดู
ความสวยงามของคนดีดไหมากกว่าที่จะฟังเสียงพิณไห

http://student.nu.ac.th/witawat/wab/ภาคอสาน.html

         กลับด้านบน

                                                               

 

ศิลปะภาคอีสาน

 

        ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล   ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ต่างๆที่ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี  อุทยานแห่งชาติผาแต้ม  จังหวัด
อุบลราชธานี  หรือถ้ำผ่ามือแดง  จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ  (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) 
ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและงานขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ไว้สอยใน
การดำรังชีวิตประจำวันและมีการตกแต่งด้านงานด้านจิตกรรมคือการวาดภาพลงบนภาชนัเพื่อให้เกิดความสวยงาม
มากขึ้นสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน  และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถ
ทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน  ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิต
ของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี    ซึ่งนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์
หลายท่านพยายามศึกษาว่าคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ใช้สีที่ทำมาจากอะไรจึงสามารถคงทนได้นานเช่นนี้ 
แต่ก็ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยนี้ได้  เชื่อว่าในอนาคตไม่ช้านี้คงจะสามารถค้นพบความจริงที่เก็บซ่อนมาเป็นเวลา
ยาวนาน  และเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะหันกลับไปใช้กรมวิธีเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยใช้  หลังจากที่เรา
ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานาน  นอกจากนี้การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็นับเป็นหนึ่งในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ   บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ   เริ่มจากเถียงนาน้อย  
ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร   จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือน
เป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี    

      สถานที่ที่เราจะสามารถชมศิลปะแบบอีสานได้ดีที่สุดคือตามศาสนสถานวัดวาอารามต่าง  ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล   วัดวาอารามต่างๆล้วนได้รับการดูแลรักษาจากพระสงฆ์และคนในชุมชนเป็นอย่างดี   ทำให้เป็นแหล่งสืบสานศิลปะอีสานที่มีมาแต่โบราณจนตราบถึงปัจจุบันยุคที่ผู้คนชาวอีสาน
เริ่มลืมศิลปะที่ดีงามของตัวเองไปแล้ว

ที่มา: http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/cultureindex.htm

 

         กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-net 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี