สวยศิลป์ล้านนาเสน่หาทะเลหมอกป่าไม้งามหลายน้ำตก มรดกประเพณีชนเผ่ามีมากหลากผ้าทอมือ เลื่องลือฟ้อนเล็บ เก็บภาพขันโตกเสน่ห์โลกถิ่นเหนือ

สุขศึกษาและพลศึกษา

[การละเล่น] [โรคประจำถิ่น]

การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ


เตยหรือหลิ่น


คำอธิบาย: http://pirun.ku.ac.th/~b5410302206/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/d_ipg.jpg


                                            ภาค  ภาคเหนือ
                              จังหวัด  ตาก
                              สถานที่เล่น ลานกว้าง ที่โล่งแจ้ง
                              อุปกรณ์ ไม่มี
                              จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
                                            วิธีเล่น
                              ขีด เส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง)                              
                              อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหล หรือ หลิ่น                              
                              ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย                               ก็จะเป็นฝ่ายชนะ โอกาสเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~b5410302206/Page4.html

กลับด้านบน

 

                                          โรคทางภาคเหนือ
                              หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย
                              หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี                              
                             
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมีปริมาณสูงสุดในเดือนมีนาคม[1] สาเหตุหลังเกิดจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากถนน 
                              การก่อสร้าง และเขม่าจากน้ำมันดีเซล ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ
                              ทำให้มลพิษต่าง ๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วเมือง ผลวิจัยพบปริมาณผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่เพิ่ม
                              ขึ้นทุกปี[1]
                              ผลกระทบต่อสุขภาพ ปัญหาหมอกควันทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนาน ๆ มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้ง ระคายคอ
                              หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย และแน่นหน้าอก ผลวิจัยการหาความสัมพันธ์ของฝุ่นละออง                              
                              กับอัตราการป่วยและเสียชีวิตของประชาชนในเชียงใหม่และลำพูน โดยคณะวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมี ผศ.ดร.มงคล
                              รายะนาคร เป็นหัวหน้าโครงการ พบค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นละอองขนาด 2.5ไมครอน ในเชียงใหม่สูงกว่ามาตรฐานของ
                              สหรัฐอเมริกา 3-6 เท่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นทุกปี                              
                              และอัตราผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดต่อประชากรแสนคนสูงกว่ากรุงเทพมหานครและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย
                              โดยพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.6 ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มจาก 9 คน
                              ในปี 2545 เพิ่มเป็น 58.12 คน ในปี 2548 ฝุ่นขนาดเล็กจะทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน                              
                              ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลสารภี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงที่สุดในเชียงใหม่

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/หมอกควัน

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสำระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี