แหล่งเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ เยือนถิ่นกรุงเก่า เสน่ห์เจ้าพระยา งามตาวัดพระศรี ฯ ที่ตั้งเมืองหลวงไทยลือไกลพระราชวัง ชายฝั่งทะเลงาม ชื่นฉ่ำน้ำตก มรดกภาคกลาง

 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร] [อาชีพ]

สะเดาน้ำปลาหวานปลาดุกย่าง

               

           

ส่วนผสมและสัดส่วน


                                                                                            1. น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย 

                                                                                           2. น้ำปลา 1/4 -1/2 ถ้วย

                                                                                           3. น้ำมะขามเปียก 1/4 ถ้วย

                                                                                           4. หอมแดงเจียว 1/4 ถ้วย

                                                                                           5. กระเทียมเจียว 1/4 ถ้วย

                                                                                           6. พริกแห้งทอด ตามชอบ

                                                                                           7. สะเดา (เลือกที่ยอกอ่อน) ตามชอบ

                                                                                           8. ปลาดุกย่าง


วิธีปรุง


                        1. น้ำตาล น้ำปลาและน้ำผสมกันแล้วนำไปตั้งไฟอ่อน เคี่ยวจนเริ่มเหนียว ยกลงตักใส่ถ้วย แล้ว 
                       โรยด้วยพริกแห้งทอดหอมแดงและกระเทียมเจียว
                       2. นำสะเดาไปล้างให้สะอาดใส่กระชอนไว้ จากนั้นต้มน้ำให้เดือด เอาน้ำเดือดเทลวกสะเดารอจนสะเดาเปลี่ยนสี
                       หรือจะเอาสะเดาลงไปลวกในหม้อเลยก็ได้ค่ะ
                       3.จัดใส่จาน กินกับปลาดุกย่าง และผักสดชนิดอื่นๆก็ได้ตามชอบ เช่นผักชี


เคล็ดลับน่ารู้


ถ้านำสะเดาลงไปลวกในหม้อ ต้องอย่าลวกนานเพราะจะทำให้สะเดาเหนียวกินไม่อร่อย

                      ที่มา:http://www.fisheries.go.th/dof_thai/knownledge/job29/Nfd12_1.html

กลับด้านบน

 

การปลูกข้าว


                                                                                                                การปลูกข้าว

                                                                           วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้
                                                                                                               การปลูกข้าวไร่
                       การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมากเช่น ภูเขา
                       มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้น
                       ชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก
                       แล้วใช้หลักไม้ปลาย แหลมเจาะดินเป็นหลุม ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว
                       แล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว
                       เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขัง และไม่มี การชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นที่ปลูกข้าวไร่
                       จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน ดังนั้นการ ปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน
                       และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่น กำจัด วัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม

 

                                                                                                        การปลูกข้าวนาดำ


                       หรือเรียกว่าการปักดำซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอนตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอนที่สอง
                       ได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียม
                      ดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย
                      หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ
                      ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร
                      การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปรซึ่ง
                      หมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช
                      เมื่อไถแปร แล้วทำการคราดได้ทันที การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน
                      ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็น ที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออก


                                                                                                                การปักดำ 


                      คือการนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆจะต้องสลัดดินโคลนที่รากออกแล้วนำไปปักดำ
                       ในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้งพื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10เซนติเมตร
                      เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำ
                      อาจจมน้ำในระยะแรกและข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติจนผลให้แตกกอน้อยการปักดำที่ได้ผลผลิตสูง
                      จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนวและมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

 

 

 

                      ที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=1&page=t3-1-infodetail08.html

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี