ศิลปะ
[นาฎศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]
การแสดง

ชื่อชุดการแสดง รำโทน
ประวัติที่มา รำโทนเป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวบ้านเมืองลพบุรี นิยมเล่นกันแพร่หลายในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังสงครามเลิกความนิยมเล่นรำโทนลดลงตามลำดับ ส่วนหนึ่งพัฒนาไปเป็นการละเล่น "รำวง" และ "รำวงมาตรฐาน" เหตุที่เรียกชื่อว่า
รำโทน เพราะเดิมเป็นการรำประกอบจังหวะการตี "โทน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในการเล่น ภายหลังแม้ใช้เครื่องดนตรีอื่น
เช่น รำมะนา ตีให้จังหวะแทนก็ยังเรียกชื่อเช่นเดิม หนุ่มสาวสมัยก่อนเล่นรำโทนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจยามเหงา เพลงที่ใช้ร้องมักเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องง่ายๆ เป็นเนื้อร้องมักเป็นการเกี้ยวพาราสีปลุกใจหรือสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่หรือ
มาจากวรรณคดีไทย
รูปแบบและลักษณะการแสดง รูปแบบและลักษณะการแสดงไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเช่นกัน แล้วแต่ผู้ร้องผู้รำจะสะดวก มีทั้งรูปแบบรำเป็นคู่ชาย-หญิง และรำเป็นวงกลมเดินต่อๆ กันไป ปนกันไปทั้งชาย-หญิง-เด็ก
การแต่งกายนักแสดงแต่งกายตามวิถีชีวิตของตนเอง ส่วนใหญ่แต่งกายแบบไทยๆ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อแบบไทย เสื้อลายดอก เสื้อประจำชาติพันธ์ ผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อคอกลมลาดดอก ไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/รำวงมาตรฐาน
กลับด้านบน
เครื่องดนตรีพืนเมืองภาคกลาง

ระนาดทุ้ม
เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว
กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด
ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง
รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง
หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด
ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ระนาดทุ้ม

ขลุ่ย
เป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือในสมัยกรุงสุโขทัย
เป็นราชธานี ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่
แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏ ในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลง
หรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐานก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่าง
ที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำ
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ขลุ่ย

กลองแขก
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะ. หน้าใหญ่
กว้างประมาณ 20 cmเรียกว่าหน้ารุ่ยหรือ"หน้ามัด"ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ15cmเรียกว่าหน้าต่านหรือ"หน้าตาด"ตัวกลอง
หรือหุ่นกลองสามารถทำขึ้นได้จากไม้หลายชนิดแต่โดยมากจะนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมาทำเป็นหุ่นกลอง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด
ไม้พยุง กระพี้เขาควายขนุน สะเดา มะค่า มะพร้าว ตาล ก้ามปู เป็นต้น ขอบกลองทำมาจากหวายผ่าซีกโยงเรียงเป็นขอบกลอง
แล้วม้วนด้วยหนังจะได้ขอบกลองพร้อมกับหน้ากลองและถูกขึงให้ตึงด้วยหนังเส้นเล็กเรียกว่าหนังเรียดเพื่อใช้ในการเร่งเสียง
ให้หน้ากลองแต่ละหน้าได้เสียงที่เหมาะสมตามความพอใจ กลองแขกสำรับหนึ่งมี 2 ลูก ลูกเสียงสูงเรียก ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียก
ตัวเมีย ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/กลองแขก
กลับด้านบน
ตุ๊กตาชาวบ้านที่อยุธยา
ตุ๊กตาชาวบ้านที่อยุธยา จัดเป็นศิลปะพื้นบ้านแขนงหนึ่งที่มีการถ่ายทอดในระบบครอบครัวจาก ปู่ – จนถึงหลาน
เป็นศิลปะพื้นบ้านที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง นับตั้งแต่การปั้นประกอบเป็นตัวจนสำเร็จออกมาเป็นผลงาน
ด้วยการใช้อุปกรณ์ง่ายๆ
คือมีดเล็กๆ เพียงเล่มเดียว แต่ใช้ฝีมือตกแต่งด้วยมืออันคล่องแคล่วที่ช่างปั้นอื่นๆน้อยคนจะทำได้
การปั้นตุ๊กตาชาวบ้านนั้น นอกจากจะใช้ฝีมือที่ละเมียดละไม เก็บความมีชีวิต ให้มีอยู่กับตุ๊กตาตัวน้อยๆ
แต่ละตัวช่างปั้นได้เพียรพยายามปั้นให้มีขนาดเล็กๆ มากจนแทบจะกล่าวออกมาไม่ได้ว่า
นี่คือการปั้นด้วยการใช้ฝีมือของช่างปั้น ที่เก็บลักษณะท่าทางเลียนแบบออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด
กรรมวิธีการต่างๆ ในการเตรียมดิน
การเตรียมดินขั้นแรกจะต้องไปเลือกดินที่มีอยู่ในท้องถิ่นเช่นเลือกดินเหนียวที่ไม่มีเม็ดทรายกรวดด้วยการขุดหน้าดินทิ้ง
ก่อนเลือกเอาส่วนที่เป็นดินเหนียวเอามานวดผสมน้ำด้วยการใช้มือขยำดินไปมาจนเห็นว่าดินนั้น
มีความเหนียวมากพอสมควรก็จะนำมาเก็บด้วยการใช้ผ้าคลุมดินชั้นหนึ่งก่อน
แล้วห่อด้วยพลาสติกอีกทีหนึ่ง จะช่วยให้ดินมีความชื้น เวลาใช้ปั้นจะสะดวกในการปั้นมาก
การปั้นส่วนประกอบอื่นๆ
การปั้นส่วนประกอบ เช่น ควาย, บ้าน, รถ หรือส่วนอื่นๆ จะปั้นเป็นส่วนๆ ด้วยการเก็บไว้ก่อน
แล้วจึงนำมาประกอบกันในภายหลังหลังจากที่ปั้นตุ๊กตาและส่วนประกอบอื่นๆแล้วก็จะนำสิ่ง
ของเหล่านี้มาผสมให้แห้ง1วันจนเห็นว่าแห้งสนิทดีแล้วก็เป็นขั้นเตรียมเผาต่อไป
ขั้นตอนการเผาดิน
เตรียมตุ๊กตาและส่วนประกอบอื่นๆ ใส่หม้อดินเผาตั้งบนเตาก่อน แล้วใส่ไฟอ่อน ๆ ด้วยการใช้ถ่านติดไฟ
เรียกว่า “โลมไฟ” ใช้เวลาในการเผานั้นประมาณ 1 ช.ม. และคอยดูว่า ตุ๊กตาที่อยู่ในหม้อนั้นออกสีดำ
จะมีลักษณะแข็งตัว ก็เอาหม้อลงจากเตาไป เอาถ่านใส่ในเตาไฟให้มากขึ้นและนำหม้อใบเดิมวางลง
บนเตาไฟอีกครั้งหนึ่งแล้วเอาถ่านวางล้อม
รอบหม้อดินรอบนอก พร้อมกับปิดฝาหม้อด้วยเสร็จแล้วรอประมาณ 1ช.ม. ครึ่ง
ถ่านจะลุกแดงมากค่อยๆ โทรมลง รอจนหม้อดินเผาเย็นก็เก็บตุ๊กตาออกจากหม้อได้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเผา
การตกแต่งขั้นสุดท้าย
นำตุ๊กตาที่เผาเสร็จแล้ว มาทาสีด้วยการใช้พู่กันกลมเบอร์ 3,4 ระบายสีบนตุ๊กตา ตกแต่งรายละเอียดให้สมบูรณ์ สีที่ใช้
ใช้สีน้ำมันกระป๋อง ผสมน้ำมันก๊าซ รอจนแห้งสนิทแล้ว นำไปติดลงบนแป้นไม้ต่อไป
ที่มา :http://ayutthayastudies.aru.ac.th
กลับด้านบน
|