โรคฟิลาริเอซิส หรือ ฟิลาเรีย หรือโรคเท้าช้าง (FILARIASIS or Filarial Infections)
โรคเท้าช้างเป็นโรคติดต่อร้ายแรงและเป็นอันตราย ในประเทศไทยส่วนใหญ่พบเฉพาะ ภาคใต้เริ่มตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต โดยพบเชื้อได้ทั้ง 2 ชนิด แต่ชนิดที่ 1 มีการระบาดน้อยกว่าชนิดที่ 2
เชื้อที่ทำให้เกิดโรค โรคเท้าช้างเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลมที่มีชื่อเรียกว่า ฟิลาเรีย (Filaria) หรือ ฟิลาริเอซิส (FILARIASIS) โดยตัวแก่ของพยาธิซึ่งมีรูปร่างคล้ายเส้นด้ายจะอาศัยอยู่ในหลอดน้ำเหลือง และตัวอ่อนซึ่งเรียกว่า ไมโครฟิลาเรีย (microfilaria) ออกมาว่ายในกระแสเลือด
ฟิลาเรียที่พบในมนุษย์มีหลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทยมีเพียง 2 ชนิด คือชนิดขาโตและชนิดอัณฑะ
แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีพยาธิฟิลาเรียอาศัยอยู่ในหลอดเลือดในร่างกาย และยุงที่มีตัวอ่อนของเชื้อชนิดนี้อยู่ในร่างกาย เมื่อยุงที่เป็นพาหะของโรคมากัดคนเพื่อกินเลือด จะได้รับไมโครฟิลาเรีย (ตัวอ่อน) เข้าสู่ร่างกายและถ่ายเชื้อให้กับผู้อื่นที่ยุงไปกัดยุงที่เป็นพาหะนำ นอกจากมนุษย์แล้วยังพบว่าสัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์กักตุนโรค เช่น ลิง ชะนี ค่าง และพบในสุนัข แมวอีกด้วย
ที่มา: http://www.healthcarethai.com/โรคเท้าช้าง/
กลับด้านบน
๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะและกะระยะด้วย
๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำให้ต้องแพ้
๓. เป็นการฝึกเด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี
ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~b5410302206/Page6.html