แหล่งเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ เยือนถิ่นกรุงเก่า เสน่ห์เจ้าพระยา องามตาวัดพระศรี ฯ ที่ตั้งเมืองหลวงไทย ลือไกลพระราชวัง ชายฝั่งทะเลงาม ชื่นฉ่ำน้ำตก มรดกภาคกลาง

ศิลปะ

[นาฏศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]

รำวงมาตราฐาน

ประวัติ

                                                                       รำวงมาตรฐาน  เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก "รำโทน"(กรมศิลปากร, 2550 : 136-143)
                                       เป็นการรำและการร้องของชาวบ้านซึ่งมีผู้รำทั้งชาย
                                       และหญิงรำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้
                                       หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลมโดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ
                                       ลักษณะการรำและร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้
                                       คงเป็นการรำและร้องง่าย ๆ มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี
                                       เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจริงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด เป็นต้น
                                       ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน 

                                                                                                              รูปแบบการแสดง

                                                                รำวงมาตรฐาน  เป็นการรำหมู่ประกอบด้วยผู้แสดง 8 คน ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นจากท่ารำมาตรฐานในเพลงแม่บท
                                               ความสวยงามของการรำ อยู่ที่กระบวนท่ารำที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละเพลงและเครื่องแต่งกายไทย
                                               ในสมัยต่างรวมทั้งรูปแบบการแสดงในักษณะการแปรแถวเป็นวงกลม การรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ ดังนี้

                                                   ขั้นตอนที่ 1 : ผู้แสดงชายและหญิง  เดินออกมาเป็นแถวตรง 2 แถว หันหน้าเข้าหากัน 
                                                                          ต่างฝ่ายทำความเคารพด้วยการไหว้ 

                                        ขั้นตอนที่ 2 : รำแปรแถวเป็นวงกลมตามทำนองเพลงและรำตามบทร้อง  รวม 10 เพลง โดยเปลี่ยนท่ารำไปตามเพลงต่างๆ
                                         เริ่มตั้งแต่เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำซิมารำ เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ เพลงดอกไม้ของชาติ
                                         เพลงหญิงไทยใจงาม เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า เพลงยอดชายใจหาญ และเพลงบูชานักรบ 

                                       ขั้นตอนที่ 3 : เมื่อรำจบบทร้องในเพลงที่ 10 ผู้แสดงรำเข้าเวทีทีละคู่
                                                                        ตามทำนองเพลงจนจบ

                                                                                                                   การแต่งกาย

                                             มีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดง ให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยม โดยแต่งเป็นคู่ ๆ
                                                                             รับกันทั้งชายและหญิง ซึ่งสามารถแต่งได้ 4 แบบ  คือ

                                                             แบบที่ 1  แบบชาวบ้าน

                                                            ชาย : นุ่งผ้าโจงกระเบน  สวมเสื้อคอพวงมาลัย
                                                                       เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า

                                                           หญิง : นุ่งโจงกระเบน  ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม  ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย
                                                                       คาดเข็มขัดใส่เครื่องประดับ

                                                            แบบที่ 2  แบบรัชกาลที่ 5


                                                            ชาย : นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน
                                                                       ใส่ถุงเท้ารองเท้า

                                                           หญิง : นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัวด้านซ้าย
                                                                       ใส่เครื่องประดับมุก

                                                           แบบที่ 3  แบบสากลนิยม

                                                           ชาย : นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกเนคไท

                                                          หญิง : นุ่งกระโปรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก

                                                          แบบที่  4  แบบราตรีสโมสร 

                                                          ชาย : นุ่งกางเกง สวมเสื้อคอพระราชทาน ผ้าคาดเอวห้อยชายด้านหน้า

                                                         หญิง : นุ่งโปรงยาวจีบหน้านาง  ใส่เสื้อจับเดฟ ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไปทางด้านล่าง เปิดไหล่ขวา
                                                                      ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูงใส่เกี้ยวและเครื่องประดับ

ที่มา: http://hilight.kapook.com/view/78920

กลับด้านบน

                                                                          เครื่องดนตรีไทย  ภาคกลาง                                                        

                                                                                          

                                                                 ซอด้วง จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 4 ส่วน คือกระโหลก
                                                     คันซอ, สายซอและคันชักกระโหลกซอด้วง เป็นรูปทรงกระบอกทำด้วยไม้ประดู่ขึงหน้าด้วยหนังงู
                                                     มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันชักนิยมใช้หางม้า ซอด้วงมีสองสายทำด้วย
                                                     ไหมหรือไนล่อนแต่ปัจจุบันนิยมใช้สายไนล่อน
                                                     ซอด้วงมีระดับเสียงแหลมเทียบเสียงเป็นคู่ห้าคือเสียง ซอลกับเร

                                                                                            

 

                                                                      ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ลูกระนาดทำมาจากไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมประมาณ 21-22 ลูก
                                                       ร้อยติดกันเป็นผืนมีขนาดลดหลั่นกัน แขวนไว้กับรางที่มีรูปร่างคล้ายเรือมีขาตั้งติดกับกล่องเสียงใช้ตีด้วยไม้คู่
                                                       ได้แก่ไม้แข็งหรือไม้นวมลูกระนาดปรับเสียงสูงต่ำด้วยตะกั่ว ซึ่งผสมขึ้ผึ้งติด
                                                       ไว้ข้างใต้ลูกระนาดในสุโขทัยเรียกว่า “พาด”  

                                                                                              

                                                                        ขลุ่ย จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มีลิ้นทำด้วยไม้สักตัวขลุ่ยทำด้วยไม้รวกปล้องยาว ๆ
                                                       เจาะทะลุข้อ แล้วใช้เชือกปอพันให้เป็นลวดลายแล้วเผาไฟให้เชือกปอไหม้
                                                       เมื่อเชือกปอไหม้หมดแล้ว ก็จะเกิดลวดลาย ตามที่เราได้พันเชือกปอไว้จากนั้นเจาะรูกลม ๆ
                                                       เรียงแถวกัน ๗ รู ระยะห่างประมาณ ๑ นิ้ว ในแต่ละรูปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง
                                                       ผู้เป่าขลุ่ยจะใช้ริมฝีปากสัมผัสด้านล่างของลิ้น และเปิดริมฝีปากให้ลมเป่าผ่านเข้าไปในเลา
                                                       ในปัจจุบันใช้วัสดุหลายอย่าง เช่น ใช้ท่อเอสล่อน (ท่อปะปา) หรือท่อพลาสติก และไม้แดง
                                                       ไม้เต็ง ไม้รัง กลึงให้กลมเจาะรูทะลุ แต่ที่นิยมใช้กันมากและมีเสียงไพเราะจะต้องทำจากไม้รวก
                                                        ส่วนวัสดุอื่นจะมีเสียงแข็งไม่พริ้ว

ที่มา: http://bowsouthida.blogspot.com/2015/03/blog-post_71.html      

กลับด้านบน

(ผนังที่ 4 ผนังเต็มห้อง เนมิราชชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิ บำเพ็ญอธิษฐานบารมี 

เหล่าเทพยดาส่งมาตุลีเทพบุตร นำราชรถทองมารับพระเนมิไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์และนรก)



                                                             ภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดบวกครกหลวงมีลักษณะของภาพแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิยมของท้องถิ่น 
                                                   ที่มีจุดเด่นที่เป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดจัดจ้าน 
                                                   ท่าทีการเขียนภาพของช่างนิยมใช้พู่กันป้ายแต้มอย่างมีพละกำลังแฝงอยู่ภายในด้วย 
                                                   รอยพู่กันแสดงอารมณ์ที่ลิงโลด คึกคะนอง สนุกสนาน และปาดสีอย่างมันใจเด็ดเดี่ยว 
                                                   โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่เป็นฉากธรรมชาติ เช่น เนินเขา โขดหิน และลำน้ำ 
                                                   ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสิ่งเหล่านี้ล้วนมีรูปร่างเป็นอิสระ เลื่อนไหล คดเคี้ยว 
                                                   เมื่อผนวกเข้ากับความต้องการของผู้วาดที่ใช้พู่กันและสีแท้ ๆ สดในอย่างอิสระแล้ว 
                                                   นับเป็นฉากธรรมชาติที่มีชีวิตชีวา ไม่ดูจืดชื้ดยิ่งนัก 

                                                  นอกจากนั้นแล้ว วิธีการเน้นความน่าสนใจของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงคือ
                                                  นิยมใช้กรอบรูปคล้ายภูเขา ระบายสีพื้นในด้วยสีดำ ขอบนอกเป็นแถบสีเทาและตัดเส้นด้วยสีดำ 
                                                  ส่วนเส้นนอกกรอบเลื่อนไหลล้อกับรูปนอกของตัวปราสาทด้วย


ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=addsiripun&month=03-04-2012&group=12&gblog=106 

กลับด้านบน


 

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี