แหล่งเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ เยือนถิ่นกรุงเก่า เสน่ห์เจ้าพระยา องามตาวัดพระศรี ฯ ที่ตั้งเมืองหลวงไทย ลือไกลพระราชวัง ชายฝั่งทะเลงาม ชื่นฉ่ำน้ำตก มรดกภาคกลาง

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร] [อาชีพ]

อาหารภาคกลาง

 แกงเลียง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวภาคกลาง ประกอบด้วยพืชผัก หลากหลายส่วนมากมักนำพืชผักที่มีรสเย็นจืดมาเป็นส่วนผสมในแกงเลียง
เช่น บวบ ฟักทอง ตำลึง ข้าวโพดอ่อน น้ำเต้า และนิยมปรุงรับประทานขณะร้อนๆ มีสรรพคุณแก้ไข้หวัดได้ดี เนื่องจาก
ในแกงเลียงประกอบด้วยพืชผักพื้นบ้านที่เป็นสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ พริกขี้หนู หอมแดงพริกไทย ใบแมงลัก
และผักต่างๆ ที่มีรสเย็นดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ คนโบราณเชื่อว่าแกงเลียง เป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนม
(บำรุงน้ำนม) สำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้น้ำนมบริบูรณ์

                        ส่วนผสม

                       1. กุ้งชีแฮ้ปอกเปลือก 1 ถ้วย

                       2.ปลาย่างแกะเอาแต่เนื้อ 1/2 ถ้วย

                       3.หอมแดง 5 หัว

                       4.พริกไทยเม็ด 15 เม็ด

                       5.กะปิ 1 ช้อนชา

                       6.น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ

                       7.น้ำซุป 3 ถ้วย

                       8.ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง บวบ เห็ด ข้าวโพดอ่อน ใบตำลึง ใบแมงลัก

 

                       วิธีทำ

          1.ล้างผักให้สะอาด ปอกเปลือกฟักทอง บวบ หั่นชิ้นพอคำ เด็ดใบอ่อนตำลึง แมงลัก เฉือนที่โคนสกปรกของเห็ดออก หั่นเห็ด ข้าวโพดอ่อน
          2.บุบพริกไทย โขลกกับปลาย่างให้ขึ้นฟู ใส่หอม กะปิ โขลกให้เข้ากัน
          3.ใส่น้ำซุปลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องที่โขลก แล้วต้มให้เดือด
          4.ใส่ผักต่าง ๆ โดยเริ่มจาก ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน บวบ เห็ด พอเดือดดีใส่กุ้ง ใบตำลึง ใบแมงลัก น้ำปลา ชิมรส ปิดไฟยกลง

 

ที่มา : http://www.pstip.com/เมนูอาหาร-ภาคกลาง/อาหารภาคกลาง..แกงเลียง.html

กลับด้านบน

 

อาชีพภาคกลาง

ข้าวฟ่างเป็นธัญพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี จึงนิยมปลูกเป็นพืชที่สองในปลายฤดูฝน
หลังการปลูกข้าวโพด หรือถั่วเหลือง ผลผลิตเมล็ดข้าวฟ่างที่ได้ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศ ในปัจจุบันมีการใช้ต้นข้าวฟ่างเป็นอาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้น

              สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ข้าวฟ่างเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียว แต่ดินที่เหมาะที่จะปลูกข้าวฟ่างให้ได้ผลผลิตสูงควรเป็นดินร่วนเหนียว
ที่มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.0-7.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการสร้างเมล็ดอยู่ระหว่าง 27-30
องศาเซลเซียส ข้าวฟ่างต้องการปริมาณน้ำตลอดฤดูปลูกประมาณ 320-500 มิลลิเมตร โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังตั้งท้องถึงช่วงที่ดอกบาน
หากขาดน้ำจะมีผลกระทบต่อผลผลิตมาก แต่ข้าวฟ่างก็ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขังในช่วงต้นกล้า หรือในช่วงที่ไว้ตอเพราะจะทำให้ต้นหรือตอแคระแกร็นหรืออาจตายไปในที่สุด

           การเตรียมดิน
           ไถดินให้ลึก 15-20 ซม. ตากดินไว้ 1-2 สัปดาห์แล้วพรวนให้ดินร่วนซุย


          ฤดูปลูก
          1. ปลายฤดูฝน (สิงหาคม-กันยายน) เพื่อให้ได้เมล็ดที่มีผลผลิตและคุณภาพสูง
          2. ต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน) เพื่อตัดต้นสดในรุ่นแรกแล้วไว้ตอเพื่อเก็บเมล็ดในข้าวฟ่างตอ

 

ที่มา : http://www.doa.go.th/ardc/suphan/sg_grow.htm

กลับด้านบน

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี