เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร  มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง

ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช ภาษากูย (ส่วย) เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

                                                                           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี20จังหวัด ดังนี้

                                                                  1.จังหวัดกาฬสินธุ์ (เดิมชื่อ บ้านแก่งสำโรง)
                                                                  2.จังหวัดขอนแก่น (เดิมชื่อ บ้านโนนทัน)
                                                                  3.จังหวัดชัยภูมิ (เดิมชื่อ บ้านไชยภูมิ์ ตั้งขึ้นใหม่)
                                                                  4.จังหวัดนครพนม (เดิมชื่อ มรุกขรนคร)
                                                                  5.จังหวัดนครราชสีมา (เดิมชื่อ เมืองโคราฆะปุระและเมืองเสมา)
                                                                  6.จังหวัดบึงกาฬ (เดิมชื่อ เมืองกาฬวาปี)
                                                                  7.จังหวัดบุรีรัมย์ (เดิมชื่อ เมืองแปะ)
                                                                  8.จังหวัดมหาสารคาม (เดิมชื่อ กุดยางใหญ่ต่อมาเพี้ยนเป็นกุดนางใย)
                                                                  9.จังหวัดมุกดาหาร (เดิมชื่อ เมืองมุกดาหารบุรี, เมืองบังมุก)
                                                                  10.จังหวัดยโสธร (เดิมชื่อ เมืองยศสุนทร, เมืองสิงห์โคกสิงห์ท่า)
                                                                  11.จังหวัดร้อยเอ็ด (เดิมชื่อ เมืองสาเกตุนคร, เมืองฮ้อยเอ็ด)
                                                                  12.จังหวัดเลย (เดิมชื่อ เมืองเซไล)
                                                                  13.จังหวัดศรีสะเกษ (เดิมชื่อ เมืองคูขันธ์-เมืองศรีนครลำดวน)
                                                                  14.จังหวัดสกลนคร (เดิมชื่อ เมืองหนองหานหลวง)
                                                                  15.จังหวัดสุรินทร์ (เดิมชื่อ เมืองประทายสมันต์)
                                                                  16.จังหวัดหนองคาย (เดิมชื่อ เมืองหล้าหนองคาย)
                                                                  17.จังหวัดหนองบัวลำภู (เดิมชื่อ เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน, เมืองจำปากาบแก้วนคร, เมืองกมุทาสัย)
                                                                  18.จังหวัดอำนาจเจริญ (เดิมชื่อ เมืองอำนาจเจริญ, บ้านค้อใหญ่)
                                                                  19.จังหวัดอุดรธานี (เดิมชื่อ บ้านเดื่อหมากแข้ง)
                                                                  20.จังหวัดอุบลราชธานี (เดิมชื่อ เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช)

                       ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/ภาคอีสาน_(ประเทศไทย)

 

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมิทรชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี