แหล่งเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ เยือนถิ่นกรุงเก่า เสน่ห์เจ้าพระยา องามตาวัดพระศรี ฯ ที่ตั้งเมืองหลวงไทย ลือไกลพระราชวัง ชายฝั่งทะเลงาม ชื่นฉ่ำน้ำตก มรดกภาคกลาง


กลุ่มสาระศิลปะ


[นาฎศิลป์] [ดนตรี] [ศิลปะ]

การแสดงภาคกลาง

คำอธิบาย: C:\Users\Administrator\Downloads\Documents\52_zpsadad9e18.jpg
รำสีนวล


ประวัติความเป็นมา
           รำสีนวล เป็นการแสดงพื้นเมืองภาคกลางที่อวดลีลา ท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม การแต่งกายที่สวยงาม เป็นกิริยาอาการของหญิงสาวแรกรุ่นที่สนุกสนานรื่นเริง


ลักษณะและรูปแบบการแสดง
           การรำสีนวลเป็นการรำเดี่ยวหรือรำหมู่ที่ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน   มีการตีบทตามบทร้องตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย  มีลีลาท่ารำที่ใช้ภาษาท่าและภาษานาฏศิลป์ประกอบบทร้อง  และจะจบด้วยเพลงต้นวรเชษฐ์  ออกเพลงเร็วเพลงลา หรือจบ ลงด้วยเพลงเร็ว ลา ก็ได้


การแต่งกาย
           รำสีนวลเป็นการรำของผู้หญิงพื้นเมืองภาคกลาง  ลักษณะการแต่งกายจะห่มสไบ  นุ่งโจงกระเบน  ปล่อยผม  ทัดดอกไม้ด้านซ้าย  สวมเครื่องประดับ  สร้อยคอ  ตุ้มหู  สะอิ้งนาง  และกำไลเท้า


http://natasin-rochana.mobile.exteen.com/20120306/entry-20

กลับด้านบน

 

เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง


 
กลองแขก

เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้

โทนรำมะนา


รูปร่างคล้ายกลองยาว ขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนัง ดึงให้ตึงด้วยเชือก

ซอสามสาย

เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทย มาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

 

 

ระนาดเอก

เป็นระนาดเสียงแหลมสูง
ประกอบ ด้วยลูกระนาด ที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง

 

 

ที่มา:http://www.culture.go.th/research/musical/html/th_central.htm

กลับด้านบน

 

 

ปราสาทพระเทพบิดร หรือพระพุทธปรางค์ปราสาท

 

 

 

เป็นปราสาทจตุรมุข  มีมุขเด็จ 3 มุข  ขนาดกว้าง  25.55  เมตร  ยาว  28.35  เมตร  ตั้งอยู่บนฐานไพมีระหว่างพระอุโบสและหอพระมณเฑียร  เป็นปราสาทจตุรมุขยอดปรางค์  มีทางขึ้นจากฐานไพที 4 ทิศ  ปูหินอ่อน พนักบันไดปูกระเบื้องเคลือบสีขาว  พนักอัฐจันทร์ทางขึ้นเป็นพลสิงห์  บันไดนาค  5  เศียร  สวมมงกุฏปิดทองประดับกระจก   ส่วนบันไดทางด้านตะวันออกเป็นรูปอัปสรสีห์  2  ตน  ยืนประดับบันได  ผนังปราสาทก่ออิฐฉาบปูน  ประดับกระเบื้องเคลือบสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์   เสาเป็นเสาก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสอง  พื้นเสาประดับกระเบื้องสีเขียวลายไทย  เสาอิงเป็นเสาย่อมุมไม้สิบสอง  ขอบเสาปั้นปูนเป็นลายรักร้อยปิดทองประดับกระจก  ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นซุ้มยอดทรงมงกุฏ  ปิดทองประดับด้วยกระจกสี  เสาซุ้มประดับด้วยแผ่นโลหะลงยา  เพดานซุ้มเป็นลายดวงดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์  5  ดวง  บานหน้าต่างเป็นลายรดน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์เทพนม  ด้านในเป็นทวารบาลรูปเทวดาเหยียบสิงห์ หลังคาแบบจตุรมุขลด  4  ชั้น  เฉพาะด้านหน้าทางทิศตะวันออกลด  5  ชั้น  กึ่งกลางมุขทั้งสี่เป็นยอดปรางค์ประดับกระเบื้องสีเขียวอ่อนตลอดองค์  มุขเด็จรับยอดปรางค์เป็นเสาย่อมุมไม้สิบสองประดับกระเบื้อง  ยอดนพศูลเป็นรูปพระมหามงกุฏโลหะปิดทอง  พระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่  4   หลังคามุงด้วยกระเบื้องสี  ประดับด้วยช่อฟ้า   ใบระกา   หางหงส์  และนาคสะดุ้ง มุขด้านหน้า ( ตะวันออก ) ระหว่างเสาทางเข้าประตู  ประดับด้วยรวงผึ้งและสาหร่าย ปลายลายเป็นเทพนม  ถัดจากหน้าบัน ประดิษฐานพระมหามงกุฏประดับฉัตรสองข้าง  บนพื้นสีน้ำเงินคือ  พระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่  4  กลางหน้าบันมุขด้านทิศเหนือเป็นรูปอุณาโลม  คือ  พระบรมราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่  1  กลางหน้าบันมุขทิศใต้เป็นรูปครุฑยุดนาค คือ พระบรมราชสัญลักษณ์รัชกาลที่  2  กลางหน้าบันมุขทิศตะวันตกเป็นรูปพระ มีศิลปกรรมประกอบอยู่ทั้ง 2 ประเภท มีทั้งประเภทวิจิตรศิลป์ (fine arts)ที่ประกอบด้วย งานจิตรกรรม ประติมากรรม และประเภทประโยชน์ศิลป์ที่ประกอบด้วยการปั่น แบบต่างๆ พร้อมกับเครื่องใช้สอยที่มีการประดิษฐ์ขึ้นมาจากเครื่องทองเหลืองและอีกมากมาย


ที่มา :  http://www.lib.su.ac.th/web-temple/index.php?option=com_content&view=article&id=17:watprasiratana&catid=1:pra-na-khon&Itemid=18

 

กลับด้านบน

 

โครงงานบูรณาการ O-NET สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี