[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
:: โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ::
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
เมนูหลัก
SKP Link

fix




11
SKP ห้องเรียนพิเศษ

SKP สารสนเทศ





SKP แหล่งเรียนรู้


SKP Download






เว็บไซต์ทั่วไป
SKP วารสาร

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

เจ้าของผลงาน : นางสาวศิราณี มะแอ
อังคาร ที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ.2558
เข้าชม : 6009    จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
3 stars เฉลี่ย : 3 จาก 2 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย  โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน  โดยใช้ชุด
กิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย  โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557  จำนวน  1 ห้องเรียน   มีนักเรียนทั้งหมด  50  คน  กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  (Simple Random Sampling)  แล้วทำการวัดผลโดยใช้แบบทดสอบท้ายเล่มของแต่ละชุด  จำนวน  4  ชุด  การสอบ โดยใช้ชุดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  1  ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ  มีค่าความยากระหว่าง  0.29 – 0.78  ค่าอำนาจจำแนก  ตั้งแต่  0.21 – 0.52  และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ  เท่ากับ  0.85  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  E1/E2  หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์มาตรฐาน  และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้  t-test  แบบ  Dependent  Sample
            ผลการวิจัยพบว่า  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เรื่อง  ตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย 
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  มี
ประสิทธิภาพ สูงเกินเกณฑ์  80/80 โดยมีค่า  83.05/83.07  และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05



งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดการสอน EAW ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส COVID-19 16/ธ.ค./2564
      การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบใช้โครงงานเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 12/ส.ค./2563
      การพัฒนากิจกรรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การประกอบอาหารกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 12/ส.ค./2563
      การใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ตามหลักการบริหารวิชาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี 26/ก.ค./2559
      รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1/ก.ค./2558


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ webmaster@skp.ac.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป