[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
:: โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ::
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
เมนูหลัก
SKP Link

fix




11
SKP ห้องเรียนพิเศษ

SKP สารสนเทศ





SKP แหล่งเรียนรู้


SKP Download






เว็บไซต์ทั่วไป
SKP วารสาร

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : รายงานผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

เจ้าของผลงาน : นางสาวพรทิพย์พา ปัญจะพรสุข
ศุกร์์ ที่ 19 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2557
เข้าชม : 2909    จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
4 stars เฉลี่ย : 4 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

บทคัดย่อ

 
              การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยน              และวิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา      ปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2556  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก จำนวน             1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ จำนวน 1 ชุด (9 หน่วย) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ จำนวน 18 ชั่วโมง และแบบวัดเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ (Percentage) , ค่าเฉลี่ย (Mean) , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (E1/E2) และค่า t – test  แบบ  Dependent Sample 
                    ผลการศึกษา พบว่า
                               1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16/83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
                                    2.   การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งกล่าวได้ว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นแสดงว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและ             วิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  เป็นอย่างดี
                                    3.  นักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ  สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จำนวน  40  คน มีเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5               อยู่ในระดับมาก คือมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.19  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  เท่ากับ 0.86  




งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดการสอน EAW ในระหว่างการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส COVID-19 16/ธ.ค./2564
      การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบใช้โครงงานเป็นฐาน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 12/ส.ค./2563
      การพัฒนากิจกรรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เรื่อง การประกอบอาหารกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 12/ส.ค./2563
      การใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ตามหลักการบริหารวิชาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี 26/ก.ค./2559
      รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม รายวิชาชีววิทยาพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1/ก.ค./2558