บทคัดย่อ :
การวิจัยเรื่อง การใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักการบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบกลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ตามหลักการบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมิน ทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี 2) ศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักการบริหารวิชาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี 3) ศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ชองนักเรียนตามหลักการบริหารวิชาการ ที่มีต่อประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัยปทุมธานี
ประชากรที่ใช้ในการพัฒนางานศักยภาพการเรียนรู้ตามหลักการบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี ประจำปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วย ครู จำนวน 90 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1,966 คน และนักเรียน จำนวน 1,966 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครู จำนวน 73 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 149 คน และนักเรียน จำนวน 149 คน รวมจำนวน 380 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยใช้การเปิดตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan, 1970) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และที่ระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามความคิดเห็นมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักการบริหารวิชาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ตามหลักการบริหารวิชาการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี
การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ตามลำดับความสัมพันธ์ของตัวแปรนำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบกลยุทธ์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ตามหลักการบริหารวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านศักยภาพครู และด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ด้านประสานความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนตามหลักการบริหารวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ใน ระดับมาก และด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. องค์ประกอบกลยุทธ์ในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ตามหลักการบริหารวิชาการ ด้านด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ (X3) และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (X2) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
|