ภาคอีสาน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่กาฬสินธุ์ขอนแก่นชัยภูมิ
นครพนม นครราชสีมาบุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหารยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์หนองคาย
หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และน้องใหม่ บึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร
หรือ 1 ใน 3
ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจาก
ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร
เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง
1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง
ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว
มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร ทำให้
ภาคอีสานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งโคราช ได้แก่บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล กินบริเวณ 3 ใน 4
ของภาคอีสานทั้งหมดแอ่งสกลนครได้แก่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพานและบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง
แม้ว่าชาวอีสานจะมีพื้นเพมาจากคนหลายกลุ่ม มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ เช่น ชาวส่วย (กุย) ย้อ ผู้ไทย
ชาวโซ้ รวมทั้งไทยโคราช แต่ด้วยวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นในจารีตประเพณีของท้องถิ่นที่เรียก ว่า "ฮีตสิบสอง
คองสิบสี่" คำว่า ฮีต ในภาษาถิ่นหมายถึง จารีต ที่เกี่ยวข้องกับประเพณีสิบสองเดือน อันเนื่องมาจากพุทธศาสนา
เช่น งานบุญกฐิน บุญบั้งไฟ บุญข้าวสาก บุญข้าวจี่ เป็นต้น ส่วนคำว่า คอง หมายถึง ครรลองคลองธรรม
หรือแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติสิบสี่ประการ เช่น ทำบุญใส่บาตรทุกเช้า หมั่นฟังธรรมทุกวั จากอาณาเขต
ที่กว้างใหญ่ไพศาล ทำให้ภาคอีสานมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายน่าสนใจ ทั้งการท่องเที่ยวธรรมชาติ
แบบการ เดินป่า ล่องแก่ง ศึกษาธรรมชาติ ดูนก หรือจะเที่ยวเพื่อการชื่นชมความงามในศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ศึกษาประวัติศาสตร์จากแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ และโบราณสถาน
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ภาคอีสาน