เพลินตาปราสาทหิน เยือนถิ่น  โบราณสถาน เก่ากาลประวัติศาสตร์ ผุดผาดสาวเรณู สวยหรูไหมแพรวา  งามตาน้ำตกใส ป่าใหญ่สวย รวยไม้ดอก ทะเลหมอกภูเขา หนาวสุด แห่งสยาม

การงานอาชีพและเทคโนโลยี

[อาหาร] [อาชีพ]

 

อาหารประจำถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(แกงอ่อมไก่)

 

 

 

                                     เครื่องปรุงอาหาร
                                       1 ไก่ 208 1 1/2 ถ้วยตวง 1/2 ตัว
                                       2 พริกขี้หนูบุบ 8 2 ช้อนโต๊ะ 10-15 เม็ด
                                       3 หอมแดงทุบ 38 1/4 ถ้วยตวง 7 หัว
                                       4 เกลือป่น 6 2 ช้อนชา
                                       5 น้ำปลา 4 1 ช้อนชา
                                       6 ปลาร้า 12 1 ช้อนโต๊ะ
                                       7 ข้าวคั่ว 9 1 ช้อนโต๊ะ
                                       8 ต้นหอมหั่นท่อน 58 1 ถ้วยตวง
                                       9 ผักชีลาวหั่นท่อน 72 1 ถ้วยตวง
                                      10 กระเทียม 12 3 กลีบ
                                      11 ตะไคร้ 10 2 ต้น
                                      12 ใบแมงลัก 10 1/2 ถ้วยตวง
                                  อุปกรณ์การเตรียม
                                      มีด
                                      เขียง
                                     ครก
                                     อ่างผสม
                                     จาน
                                     ถ้วยตวง
                                     ช้อนตวง
                                     เครื่องชั่ง
                                     ถ้วยตวงของเหลว
                                อุปกรณ์ประกอบ
                                    หม้อ
                                    เตา
                                    ทัพพี
                                   ช้อนชิม
                                อุปกรณ์จัดแต่ง/รับประทาน
                                   ชาม
                                   จานรอง
                                   ช้อน

                               วิธีทำแกงอ่อมไก่
                                     1.การทำแกงอ่อม ก่อนอื่นต้องมาทำเครื่องแกงอ่อมก่อน ก็ไม่มีอะไรมาก มี ตะไคร้ หัวหอม พริกแดง
                 เอามาโขลกรวมกันให้ละเอียด
                                     2.ตั้งหม้อแกงบนเตา ใส่น้ำลงในหม้อเล็กน้อย เพื่อไว้รวนเครื่องแกงจะได้ไม่ติดหม้อรวนจนเครื่องแกงพอหอม
                 ก็นำไก่ใส่ลงหม้อรวนกับเครื่องแกง ให้เข้ากัน เติมน้ำปลา คลุกเคล้าให้เข้ากัน รวนจนไก่เริ่มสุก ใส่น้ำในหม้อตั้งต่อจน
                 น้ำแกงเริ่มร้อน ใส่ข้าวเบือคั่ว แล้วก็ใส่น้ำปลาร้า ใส่น้ำตาลทราย พอน้ำแกงเดือดได้ที่ ไก่สุกดีแล้ว ก็ใส่ใบมะกรูด
                 ตามด้วยผักต่าง ๆ ลงไป คนให้ผักต่าง ๆ เข้ากับน้ำแกงพอผักเริ่มยุบตัวลง จึงใส่ผักชีลาวและใบแมงลักลงไปที่หลัง
                 คนให้ผักยุบตัวลง ต้มจนสุก จึงยกลงจากเตา
                                     3.ตักใส่ชาม รับประทานร้อนๆ อย่างนี้อร่อยอย่าบอกใคร เป็นเมนูที่รวมสารพัดผักเข้าไว้ด้วยกัน มีคุณค่าจากสมุนไพร
                 และมีกลิ่นหอมของผักชีลาว ที่เป็นเอกลักษณ์ของแกงอ่อมด้วย ทำให้นึกถึงบรรยากาศ สไตล์อีสานหมู่เฮาจริง ๆ

                               คุณค่าอาหารทางโภชนาการ
                                     การอ่อมคือ การเอาเนื้อสัตว์ต่างๆ หลายอย่างไม่ว่า ปลา ไก่ หรือแม้แต่กบ ก็สามารถมาทำอ่อมได้
                 สำหรับเมนูนี้เราใช้ไก่ในกรณีของไก่ในท้องถิ่นก็จะมีไก่บ้านซึ่งมีลักษณะเด่นคือไขมันน้อยกว่าไก่ทั่วไปในท้องตลาด
                 แล้วยังมีเรื่องของโปรตีนเนื้อสัตว์จากไก่จะให้คุณค่าทางอาหารคือโปรตีน หรือว่าหากถ้าใช้ทั้งกระดูกอ่อนและบางส่วน
                 ของไก่ทั้งตัว เราก็จะได้แคลเซียมบางส่วนเสริมเข้ามาจากส่วนของกระดูกอ่อนหรือส่วนอื่นๆของไก่ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำ
                 ให้ใช้ไก่บ้าน ถึงแม้ไก่บ้านจะมีไขมันน้อยกว่า แต่ถ้าเป็นผู้ที่ต้องควบคุมไขมัน

            ที่มา: http://www.inmu.mahidol.ac.th/gallery/inmucooking/northeast_food/แกงอ่อมไก่.html

                     http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=52

                     https://www.youtube.com/watch?v=2aJOe_RdrGc

 

กลับด้านบน

 

อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การทอผ้ามัดหมี่

 

 

                   ผ้ามัดหมี่

                                     เป็นการทอผ้าอย่างหนึ่งที่มีการสร้างลวดลายก่อนที่จะทำการย้อมสี การทำลายผ้ามัดหมี่เป็นการเอาเชือกมามัดด้ายหรือ
                 มัดเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้  การมัดและย้อมลายจะมีการทำทั้งเส้นทางแนวยืน และแนวนอนหรือที่เรียกว่าแนวพุ่ง มีการ
                 สันนิษฐานว่าการมัดลายในแนวยืนน่าจะมีมาก่อนในแนวพุ่ง และจากการสืบค้นมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากประเทศ
                 อินเดีย โดยในสมัยโบราณที่มีการค้าขายกันและติดมากับสินค้าอื่น การทอผ้ามัดหมี่โบราณนิยมการย้อมสีด้วยสีธรรมชาติ เช่น สีแดง
                 จากครั่ง สีน้ำเงินจากคราม เป็นต้น ส่วนผ้าไหมมัดหมี่จะนิยมทำในกลุ่มไท-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเส้นทางการรับแบบ
                 อย่างของผ้ามัดหมี่ คือจากอินเดีย ผ่านมาทางอินโดนีเซียและกัมพูชาหรือเขมร ดังที่เราจะเห็นได้ว่าผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดสุรินทร์
                 และบุรีรัมย์ จะเป็นวัฒนธรรมที่เป็นแบบเขมรอย่างเห็นได้ชัด

                  การมัดหมี่ 
                                     การมัดหมี่ เป็นการทำลวดลายของผืนผ้า โดยการใช้วัสดุกันน้ำมัดกลุ่มเส้นฝ้ายเป็นลวดลายตามต้องการ ร้อยหลอดฝ้าย
                 ตามลำดับก่อน-หลัง 
                  การค้นหมี่ 
                                     เส้นฝ้ายมีไขฉาบโดยธรรมชาติ ก่อนนำมาใช้ต้องชุบน้ำให้เปียกทั่วอณูของเส้นฝ้าย โดยชุบน้ำแล้วทุบด้วยท่อนไม้ผิวเรียบ
                 เรียกว่า การฆ่าฝ้าย บจำนวนเส้นฝ้ายให้เป็นหมวดหมู่ แต่ละหมู่มีจำนวนเส้นฝ้ายสัมพันธ์กับลายหมี่ มัดหมวดหมู่ฝ้ายด้วยเชือกฟาง
                  วิธีการค้นหมี่
                                     1. เอาฝ้ายที่เตรียมมาแล้วมัดหลักหมี่ด้านล่างก่อน แล้วพันรอบหลักหมี่ไปเรื่อยๆ เรียกว่า การก่อหมี่
                                     2. การค้นหมี่จะต้องค้นจากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่างจนกว่าจะครบจำนวนรอบที่ต้องการ ภาษาท้องถิ่นเรียกแต่ละจำนวน
                 ว่าลูกหรือลำ ถ้าก่อหมี่ผูก ฝ้ายด้านขวา ก็ต้องวนซ้ายมาขวาทุกครั้ง
                                     3. ควรผูกฝ้ายไว้ทุกลูกด้วยสายแนม เพื่อไม่ให้หมี่พันกัน หรือหลุดออกจากกัน
                 วิธีการมัดหมี่
                                     มัดกลุ่มฝ้ายแต่ละลูกหมี่ด้วยเชือกฟาง จนครบหลักหมี่ ทำเป็นเชิงผ้า หลังจากนั้น เราก็จะนำไป ย้อมคราม เมื่อย้อมคราม
                 เสร็จก็จะนำมาแก้ปอมัดหมี่

 

                           

 

                 การแก้ปอมัดหมี่
                                     หมี่ที่มัดเสร็จเรียบร้อยและถอดออกจากหลักหมี่แล้วนำไปแช่น้ำให้เปียก บิดให้หมาด นำไปย้อมสีคราม ล้างสีให้สะอาด
                 จึงนำมาแก้ปอมัดหมี่ พาดราวกระตุกให้เรียงเส้นผึ่งให้แห้งได้ฝ้ายมัดหมี่
                การปั่นหลอด
                                     นำฝ้ายมัดหมี่คล้องใส่กงซึ่งวางอยู่ระหว่างตีนกง 1 คู่ หมุนกงคลายฝ้ายออกจากกงพันเข้าหลอดไม้ไผ่เล็กๆ
                การร้อยฝ้าย
                                     ร้อยหลอกฝ้ายที่ปั่นแล้วตามลำดับ แล้วสามารถนำมาทอเป็นผืนผ้ามัดหมี่

 

                        

                 ที่มา:http://esarn-silk.blogspot.com/2013/02/blog-post_3388.html

                       

กลับด้านบน       

 

โครงงานบูรณาการ O-Net สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี