แหล่งเกษตรกรรม เลิศล้ำหัตถศิลป์ เยือนถิ่นกรุงเก่า เสน่ห์เจ้าพระยา องามตาวัดพระศรี ฯ ที่ตั้งเมืองหลวงไทย ลือไกลพระราชวัง ชายฝั่งทะเลงาม ชื่นฉ่ำน้ำตก มรดกภาคกลาง

สุขศึกษาและพละศึกษา

[โรคประจำถิ่น] [การละเล่น]

                                                                                                             ไข้เลือดออก
อาการของผู้เป็นไข้เลือดออก

          หลังจากที่ได้รับเชื้อจากยุงประมาณ 5-8 วัน (ระยะฟักตัว) ผู้ป่วยนั้นจะเริ่มมีอาการของโรค จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่ามีความรุนแรงที่แตกต่างกัน เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้แดงกี่ ไปจนถึงมีอาการรุนแรงมากจนกระทั่งช็อกและอาจเสียชีวิตได้ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลในเวลาที่เร็วที่สุด

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก มีวิธีการปฏิบัติดังนี้ค่ะ

           การดูแลผู้ป่วยในระยะแรกญาติอาจจะต้องเป็นผู้ดูแลเอง ถ้าหากว่าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล และผู้ป่วยจะมีเลือดออกร้อยละ 70 และจะมีไข้อยู่ประมาณ 3-4 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการช็อกในวันที่ 5 ของไข้ บางคนก็ร้อยละ 2-10 จะมีไข้สูง 2-3 วัน วันที่ช็อกเร็วที่สุดคือวันที่ 3 นับจากวันที่มีไข้

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก

            การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกก็คือ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพยายามหาทางหลีกเลี่ยงไม่ให้ลายกัดได้ ยุงลายนั้นชอบออกหากินในเวลากลางวัน และในบ้านของคุณลองสังเกตดูว่ามีตรงไหนบ้างที่มีน้ำขังก็ให้รีบแก้ไขให้เร็วที่ เช่น

- ถ้วยรองขาตู้กับข้าวให้เติมน้ำเดือดลงไปทุกๆ 7 วัน หรือใส่ขัน/เกลือ น้ำส้มสายชู/ขี้เถ้า ขวด

- เลี้ยงพลูด่างควรเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน

- โอ่งน้ำให้ปิดฝาให้มิดชิด หรือถ้าโอ่งไม่มีฝาให้ใส่ทรายอะเบท 1 กรัม/น้ำ 10 ลิตร

- จานรองกระถางต้นไม้ให้เทน้ำที่ขังอยู่ทิ้งลงพื้นดินทุก 7 วันหรือใส่ทรายธรรมดา

- จานรถยนต์เก่าให้ใช้วิธีปกปิดเจาะรูหรือดัดแปลงให้น้ำไม่สามารถขังอยู่ได้ อ่างบัว ให้ใส่ปลาที่กินลูกน้ำด้วย เช่นปลาสอด ปลาหางนกยูง ปลาหัวตะกั่ว

- แอ่งน้ำให้ใช้ทรายหรือดินกลบถม

- ท่อระบายน้ำอย่าปล่อยให้ท่ออุดตันหลุมบ่อ

        การป้องกันตนเองจากยุงลาย เวลาที่คุณอยู่ในบ้านควรอยู่ในที่โล่ง มีลมพัดผ่านได้และมีแสงสว่างเพียงพอเพราะยุงลายชอบไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้อง ที่รกๆ เวลานอนหลับตอนกลางวันให้นอนในห้องที่มีมุ้งลวดหรือให้กางมุ้งนอน เปิดพัดลมช่วยไล่ยุงเพราะยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน และถ้าที่บ้านคุณมียุงเยอะจริงให้ใส่กางเกงขาวยาว เสื้อมีแขนหรือเสื้อแขนยาวยิ่งดี เพื่อที่จะทำให้คุณนั้นเหลือพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกยุงกัดให้น้อยที่สุดค่ะ และอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยคุณได้คือทายากันยุงที่ปลอดภัยและควรเป็นยากันยุงที่สกัดจากพืช  

ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/dhf.htm#.VrRWw9L5eM8

กลับด้านบน


                                                                                                                รีรีข้าวสาร

             เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยในสมัยก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยหนัก เนื่องจากวัฒนธรรมในชาติต่างๆ ได้เข้ามาแผ่หลายในประเทศไทยเรา จึงทำให้การละเล่นพื้นบ้านแบบไทยๆได้หายสาปสูญไปในยุคสมัยนี้
กติกาการเล่น
จับไม้สั้นไม้ยาว ว่าใครจะเป็นประตู ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้ง หัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี ไม่เช่นนั้นตัวเองจะต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

    เนื้อเพลง
        รีรีข้าวสารเ สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี
เมื่อถึงคำสุดท้าย ซุ้มประตูก็จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูกลงโทษด้วยการให้รำหรือทำท่าทางอะไรก็ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นรีรีข้าวสาร
        การละเล่นชนิดนี้ เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
- เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ซึ่งจะทำให้เด็กๆยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
- ได้ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
- หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
- หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้

    ที่มา http://thaiskits.blogspot.com/2013/06/blog-post_8541.html                       

โครงงานบูรณาการ O-NET สามกลุ่มสาระการเรียนรู้
| โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกถุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี